AZSUNNAH MADINAH.MYREADYWEB.COM


                               





                         

สถิติ
เปิดเมื่อ12/10/2011
อัพเดท8/09/2017
ผู้เข้าชม104694
แสดงหน้า150713
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   
คำค้น
จดหมายข่าว
อัซซุนนะฮฺโพล
สินค้าแนะนำ
สินค้าขายดี
สินค้า




รอมฎอนเดือนอันประเสริฐ

รอมฎอนเดือนอันประเสริฐ
อ้างอิง อ่าน 2572 ครั้ง / ตอบ 8 ครั้ง
# # #  รอมฎอน เดือนอันประเสริฐ # # #
.      .     .แจกเป็นวิทยาทาน
เนื่องในงานประจำปี  ครั้งที่12  ของโรงเรียน
.            21มกราคม  พ.ศ 2538
ในการจัดงานประจำปีของโรงเรียนศาสนวิทยานั้น  เกือบจะทุกปีจะมีการแจกหนังสือ
แก่ผู้มีอุปการคุณ  บางครั้งเป็นหนังสือเกี่ยวกับวิชาการ  บางครั้งเป็นหนังสือเกี่ยวกับ
การศรัทธาเป็นต้น  สำหรับปีนี้ก็เช่นกันผู้บริหารและคณะครูได้จัดพิมพ์ได้จัดพิมพ์
หนังสือเกี่ยวกับ . รอมฏอน . มาแจกเป็นวิทยาทานอีก
ผู้บริหารของโรงเรียนถือเป็นนโยบายที่จะต้องจัดหาหนังสือมาแจกทุกปี  แก่ผู้มีอุปการะคุณ
อินชาอัลลอฮฺ
ยาซากุมุลลอฮุคอยร๊อน  แด่ผู้ รวบรวม  และผู้จัดพิมพ์
 
.            รอมฎอนกะรีม
รอมฎอนเป็นเดือนที่ 9 ของเดือนอาหรับทั้งหมด 12 เดือน  แต่เดือนนี้มีความ
แตกต่างจากเดือนอื่น  กล่าวคือ  พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงกำหนดเดือนนี้ให้เป็น
เดือนแห่งการประกอบอิบาดะฮฺ  อิบาดะฮฺประการสำคัญที่ อัลลอฮฺ
ศุบฮานะฮูวะตะอาลา  ได้ทรงกำหนดให้ปฎิบัติในเดือนนี้คือ  การถือศิลอด
หลังจากที่มุสลิมได้รับประทานอาหาร ได้ดื่มเครื่องดื่มอย่างอิ่มหนำสำราญเป็นเวลา
11 เดือน  เพื่อให้มุสลิมได้รู้จักจำกัดการควบคุมตัวเอง  ในการจำกัดการรับประทานอาหาร
ไม่ให้รับประทานอาหารจนอิ่มแปล้เกินขนาด  ตามความอยากของปาก  เพื่อให้กระเพาะ
ได้มีโอกาศพักผ่อนหลังจากได้ทำงานหนักมาเกือบตลอดปี  ให้เขาได้ลิ้มรสความหิวโหย
เพื่อเขาจะได้พิเคราะห์ดูสภาพของคนยากจนขัดสนว่า  ขณะที่เขามีความหิวโหย
เขาจะมีสภาพอย่างไร  และทบทวนดูตัวของเขาเองว่า  เขามีจิตเมตตา มีความสงสาร
มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากน้อยเพียงใด  และเพื่อให้มุสลิมได้ใช้เวลา 1 เดือนนี้
สะสมความดีด้วยการละหมาดตะรอเวียหฺ  อ่านอัลกุรอาน ทำการซิกรุลลอฮฺ  ฝึกจิตใจให้
มุ่งสู่อัลลอฮฺ  โดยประฎิบัติอิบาดะฮฺด้วยความอิคล้าศ (บริสุทธิ์ใจ)
ทำให้จิตใจมีความสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ทะเยอทะยาน อยากได้ในทรัพย์สิน ยศฐาบรรดาศักดิ์
ชื่อเสียง การสรรเสริญเยินยอจากผู้อื่น  การมีอำนาจ การมักใหญ่ใฝ่สูง ต้องการบริวานแวดล้อม
และบารมี ไม่โอ้อวดความมั่งมี ความยิ่งใหญ่ ความเก่งกาจ ความสวยงาม ความใคร่ในตัญหาอารมณ์
ระงับจิตใจไม่ให้โกรธ หลง
การถือศิลอด นิยามความหมาย
การถือศอลอด หรือ อัซ เซามฺ อัซซิยาม  ตามศาสนบัญญัติหมายถึง
ระงับการกิน การดื่ม การเสพย์สุขทางเพศ  ตั้งแต่รุ่งอรุณขึ้นจนกระทั่งดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า
โดยมีเจตนาปฎิบัติเพื่อเป็นการเคารพภักดี(อิบาดะฮฺ)  ต่อ อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา
อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา  ได้บัญญัติการถือศอลอดในเดือนรอมฎอนในวันจันทร์ที่ 12
ชะอฺบาน ฮ. ศ 2  ดังหลักฐานจากอัลกุรอาน  ซูเราะฮฺ อัล บะเกาะฮฺ อายะฮฺที่ 183 ว่า
# # โอ้  บรรดาผู้ศรัทธาแล้วทั้งหลาย  การถือศิลอดได้ถูกกำหนดแก่สู้เจ้า
ดังที่ถูกกำหนดแก่ผู้ที่มาก่อนหน้าพวกสูเจ้า  เพื่อว่า  สูเจ้าทั้งหลายจะยำเกรง # #
ท่านอบู อับดิร เราะฮฺมาน อับดุลลอฮฺ อิบนิอุมัร อิบนิลคอฎฎอบ รอฎิยัลลอฮุอันฮุม
ฉันได้ยินท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า
#   อิสลามตั้งอยู่บนรากฐาน 5 ประการคือ  การกล่าวปฎิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าใดที่แท้จริง
นอกจากอัลลอฮฺ  และมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์  ดำรงละหมาด จ่ายซากาต
ประกอบพิธีฮัจญ์ ณ บัยตุลลอฮฺ และถือศิลอดในเดือนรอมฎอน #
( บันทึกโดย บุคอรียฺ และมุสลิม )
 
การถือศิลอดของประชาชาติต่างๆ
การถือศอลอดในอดีตมีความแตกต่างกัน  บางทีก้ถือศิลอดจะเป็นเพียงการระงับ
คำพูด บางที่ก็เป็นเพียงการงดรับประทานอาหารบางอย่าง  บางทีก็เป็นเพียงการงด
การกินการดื่มในช่วงหนึ่งของกลางวัน  เป็นต้นการถือศิลอดเป็นหลักการที่มีอยู่ใน
ประชาชาติต่างๆไม่ว่าจะเป็นชาวอียิปต์โบราณ  กรีกโบราณ  โรมันโบราณ  อัลลอฮฺได้
ทรงใช้ให้นางมัรยัมถือศอลอดโดยการระงับคำพูด  เมื่อมีผู้มาถามนางเกี่ยวกับการเกิดของ
นบีอีซา อลัยฮิสลามบุตรของนาง  นบีซาการียาได้ถือศิลอดโดยการระงับคำพูด
เมื่อได้รับการบอกข่าวดีว่าจะมีบุตรชื่อ นบียะฮฺยา
ชาวอาหรับโบราณถือศิลอด 3 วันทุกเดือนและได้ถือศิลอดในวันที่ 10 เดือนมุฮัรรอม
(วันอาชูรออฺ)  ชามอินเดียจำนวนไม่น้อยที่อดอาหาร  เพื่อฝึกจิตใจให้มีความเข้มแข็ง
มีเจตนาที่แน่วแน่มั่นคง  บรรดาผู้บูชาดวงดาวจะถือศิลอด 30 วัน  โดยงดการกินการ
ดื่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนกระทั่งดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า  พวกมาโนก็ถือศิลอด 30 วันใน 1 ปี
สำหรับชาวยิวและคริสเตียน  เชคมุฮัมมัด อับดุฮฺ เจ้าของหนังสืออธิบาย อัลกุรอาน
ชื่อ 'ตั๊ฟซีรอัล มะน้าร'  กล่าวว่า
 
 
ในคัมภีร์เตารอตที่อยู่ในมือของเราไม่มีหลักฐานยืนยันถึงบัญญัติการถือศิลอด
หากแต่ส่งเสริมให้มีการถือศิลอดและชมเชยผู้ถือศิลอดเท่านั้น  มีหลักฐานยืนยันว่า
บนีมูซาถือศิลอด 40 วัน  ชาวยิวในสมัยนั้นถือศิลอดปีละ 1 สัปดาห์  เพื่อรำลึกถึงการ
พินาศของเมืองเยรุซาเล็ม  และพวกเขาถือศิลอดหนึ่งวันในเดือนสิงหาคม
และมีการรายงานอีกว่า  คัมภีร์เตารอตได้บัญญัติให้ชาวยิวถือศิลอดในวันที่ 10 ของ
เดือนมกราคม  พวกเขาได้ถือศิลอดในตอนกลางคืน  ซึ่งอาจจะทำให้พวกเขาเรียกว่า
' การถือศิลอดในวันอาซูรออฺ '  นอกจากนั้นชาวยิวยังถือศิลอดในตอนกลางวันของวันอื่นๆอีก
ส่วนชาวคริสต์ในคัมภีร์อินญิลก็มิได้ระบุถึงบัญญัติของการถือศิลอด
แต่ทว่าได้มีการระบุไว้  พร้อมกับชมเชยการถือศิลอด  โดยนับว่าเป็นอิบาดะฮฺประการหนึ่ง
คัมภีร์อินญิลได้ใช้ให้ผู้ถือศิลอดใส่น้ำมันใส่ผมและล้างหน้าให้สะอาด  เพื่อไม่ให้เห็นร่องรอย
ของการถือศิลอด  เพราะจะเป็นการโอ้อวดผู้อื่น
การถือศิลอดที่สำคัญและเก่าแก่ที่สุดคือ  การถือศิลอดที่ยิ่งใหญ่ก่อนวัน 'อิดุลฟิสหฺ'
ในศาสนายิวเรียกว่า 'วันพาสโซเวอร์  คือวันที่ระลึกถึงการที่ชาวยิวได้ออกเดินทางอพยพ
จากอียิปต์'  ในศาสนาคริสต์เรียกว่า  'วันอิสเตอร์'  คือวันที่ชาวครัสต์เชื่อว่า  พระเยซูฟื้นชีพ
เสด็จขึ้นจากหลุมศพ'  นบีมูซาก็ได้ถือศิลอดในวันพาสโซเวอร์นี้
การถือศิลอดนี้มีความแตกต่างกันตามแต่ละนิกาย  บางนิกายจะถือศิลอดโดยไม่รับประทานเนื้อ
บางนิกายไม่รับประทานปลา  บางนิกายไม่รับประทานไข่และนม
การถือศิลอดตามบัญญัติของชนรุ่นก่อน  อาทิเช่น  การถือศิลอดของชาวยิว  พวกเขาจะรับ
ประทานอาหารในวันหนึ่งกับคืนหนึ่งเพียงครั้งเดียว  ต่อมามีการเปลี่ยนแปลง  โดยถือศิลอด
ตั้งแต่กลางคืนจนถึงเที่ยงวัน
บางชนชาติถือศิลอดเพื่อรักษาโรคต่างๆ  เช่น  โรคความดันโลหิตสูง  การอับเสบของผิวหนัง
ท้องผูก  อาหารไม่ย่อย  ลดน้ำหนัก  ขับสารพิษออกจากร่างกาย  ผ่อนคลายความเครียด  เป็นต้น
 

 
 
preecha p.r.ma@hotmail.com [124.122.247.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ท่านคือผู้ที่อัลลอฮฺทรงคัดเลือก
1
อ้างอิง
.                        เป้าหมายของการถือศิลอดในอิสลาม
การถือศิลอดเป็นหลักประการหนึ่งของหลักอิสลาม 5 ประการ
บุคคลจะไม่เป็นมุสลิมอย่างสมบูรณ์จนกว่าเขาจะยอมรับและปฎิบัติตาม
บัญญัติประการนี้  ผู้ใดที่ประฎิเสทและไม่ยอมรับว่า  การถือศิลอดเป็นหลักการ
ของศาสนาอิสลามแล้ว  เขาก็สิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม(มุรตัด)
แต่ถ้าผู้ใดละเลยต่อการถือศิลอดเนื่องจากเกียจคร้าน  เขาจะต้องถูกลงโทษ
สถานหนัก  ไม่มีผู้ใดอาจหาญฝ่าฝืนบัญญัติของอัลลอฮฺ  พระองค์จะถอดการ
อีมานออกจากหัวใจของเขา  และจะทรงให้เขาพลัดหลงจากทางที่ถูกต้อง
อัลลอฮฺ ศุบหะนะฮูวะตะอาลา  ได้ทรงแจ้งแก่บรรดามุสลิมทั้งหลายได้ทราบว่า
เป้าหมายของการถือศิลอดในอิสลามคือ  ทำให้ผู้ถือศิลอดมีความตั๊กวา(ยำเกรง)
อัลลอฮฺ  มุสลิมจะได้รับบทเรียนจากการถือศิลอดเพียง 1 เดือน  ซึ่งอาจจะ 29 หรือ 30 วัน
ในช่วงเวลานี้  จิตใจของมุสลิมได้รับการฝึกหัดในหลายด้าน  ฝึกหัดให้รู้จักความอดทน
ระงับโทสะ  ระงับตัณหาอารมณ์  การมีจิตใจฟุ้งซ่าน  ความทะเยอทะยาน
ความอยากได้ใคร่ดี  มีความละโมภโลภมาก  มีความเห็นแก่ตัว
ทำให้บุคคลมีจิตเมตตา  โอบอ้อมอารี  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้ยากจนขัดสน  ผู้ตกทุกข์ได้ยาก
และผู้ด้อยโอกาส  และทำให้บุคคลมีจิตใจเข้มแข็ง  หนักแน่น มีสมาธิ  และมีความมั่นคง
 
มุสลิมสามารถยับยั้งชั่งใจไม่รับประทานอาหารและเครื่องดื่ม
ทั้งๆที่อาหารนั้นเป็นที่ฮาล้าลสำหรับเขาที่จะรับประทาน  แต่เขาก็ไม่รับประทาน
เพื่อปฎิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ  เขาได้ละเว้นการกิน การดื่ม โดยหวังในความเมตตา
และความพอพระทัยจากพระองค์  มีความเกรงกลัวการลงโทษเนื่องจากการฝ่าฝืน
คำสั่งของพระองค์  และมีความปรารถนาจะได้รับความกรุณาปราณีจาก พระองค์
ผู้ที่ถือศิลอดและมีความเข้าใจในเจตนารมณ์ในการถือศิลอด  เขาจะไม่พูดปด
จะไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น  ไม่บิดพริ้ว  ไม่ผิดสัญญา  ไม่โอ้อวด  ไม่หลอกลวง
ไม่กลับกลอก  ไม่ใส่ร้ายป้ายสี  ไม่พูดจาหยาบคาย  ด่าทอ เสียดสี ไม่สอดรู้  และจะ
ไม่พูดสิ่งใดนอกจากความจริง  หลีกเลี่ยงการนินทา  ปากบอน  เขาจะสำรวม
มือ ลิ้น เท้า ตา หู จะไม่หยิบฉวยสิ่งที่ไม่ใช่สิทธิของเขา  จะไม่พูดจาและลิ้มรสสิ่งที่
อัลลอฮฺทรงห้าม  จะไม่เดินสู่หนทางแห่งอบายมุขและความชั่วช้า  จะไม่มองดูสิ่งที่
อัลลอฮฺทรงห้าม  และไม่รับฟังสิ่งอัปยศ  เขาดำรงตนอยู่กับการทำความดี  มีความสัจจริง
ซื่อสัตย์ต่อสัญญา  มีความสุจริตใจ  มีความอดทนต่ออุปสรรคและความทุกข์ยาก
และไม่ตกเป็นทาสแห่งตัญหาอารมณ์
การถือศิลอดเป็นบทเรียนสำคัญในการฝึกหัดและปลูกฝังความตั๊กวา
ภายในจิตใจของมุสลิม  มีความพร้อมที่จะปฎิบัติหน้าที่อันนั้น  การถือศิลอด
ได้เสริมสร้างให้บุคคลมีเจตนารมณ์ที่แน่วแน่มั่นคง  มึจิตใจสูงส่ง
ในเมื่อการถือศิลอดของเขาเป็นการถือศิลอดเพื่ออัลลอฮฺ  ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
การถือศิลอดเป็นการขัดเกราจิตใจให้บริสุทธิ์ปราศจากราคี  และชำระร่างกาย
ให้มีความสะอาด  ทำให้มุสลิมมีความสำนึกในเนี๊ยอฺมัต(ความโปรดปราน)
ของอัลลอฮฺ  และมีความพอใจในริสกีที่พระองค์ได้ทรงประทานมาให้  เขาจะเลิกละ
ความละโมภ  ความทะเยอทะยาน  ความหยิ่งยะโส  ความกะหยิ่มลำพองในความ
สามารถ  อำนาจ  และฐานะของตน  พร้อมกับยับยั่งตัวเองโดยไม่รับประทานอาหาร
และเครื่องดื่มเกินปริมาณความจำเป็น  เนื่องจากความยากและความอร่อยของปาก
ท่าน นบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวไว้
ในหะดีษของท่านซึ่งท่าน อบู ฮุรอยเราะฮฺ  ได้รายงานว่า
.     ' ทุกสิ่งย่อมมีการจ่ายซากาต  ซากาตของร่างกายคือ  การถือศิลอด
และการถือศิลอดเป็นครึ่งหนึ่งของการอดทน '   (บันทึกโดย  อิบนุมาญะฮฺ)
 
.              .ประโยชน์ของการถือศิลอด
นอกจากการถือศิลอดจะปลูกฝังความตั๊กวาและการถือศิลอดยังมีประโยชน์ทาง
สังคมอีกด้วยนั่นคือ  การเสริมสร้างความเสมอภาคระหว่างเศรษฐีกับยาจก  ระหว่างสามัญชน
กับผู้อยู่ในฐานันดรต่างๆ  ระหว่างผู้ปกครองกับผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครอง  ระหว่างนายกับบ่าว
ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างฯลฯ  การที่คนรวยมีส่วนร่วมกับคนจนในการได้ลิ้มรสความหิวโหย
จะทำให้เขามีความรู้สึกถึงความจำเป็นจะต้องเมตตาสงสารคนจน  และจำเป็นจะต้องจัดสรร
ทรัพย์สินส่วนหนึ่งของเขาตามที่อัลลอฮฺทรงกำหนดไว้ให้เป็นสิทธิของคนยากจน  แล้วนำไปมอบ
ให้พวกเขา  การถือศิลอดทำให้คนมีฐานะได้รู้ถึงสภาพและจิตใจของคนยากคนจน  ทำให้ผู้ที่มี
อาหารครบถ้วนบริบูรณ์  มีเครื่องนุ่งห่มอย่างพร้อมมูล  ได้รู้ถึงจิตใจและความเจ็บปวดของผู้ที่
ไม่มีอาหารรับประทาน  ไม่มีเสื้อผ้าสวมใส่  ไม่มีเงินที่จะใช้สอย  เขาจึงแบ่งปันอาหาร 
เครื่องนุ่งห่มและเงินให้แก่ผู้ด้อยโอกาศเหล่านั้น
การถือศิลอดเป็นการสร้างระเบียบวินัยให้แก่ประชาชาติอิสลาม  โดยการงดการกินการดื่ม
ในเวลาเดียวกันคือ  เริ่มตั้งแต่แสงอรุณขึ้น  และรับประทานอาหารละศิลอดในเวลาเดียวกัน
คือ  เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า  ไม่มีผู้ใดที่จะกระทำล้ำหน้าผู้ใด  การจัดระเบียบเช่นนี้ทำให้มุสลิม
นำไปจัดระบบในการดำเนินชีวิตของเขา
 
. . . . ประโยชน์ของการถือศิลอดทางจิตวิญญาณถือว่า  เป็นเป้าหมายประการสำคัญของ
การถือศิลอด  เพราะมุสลิมทุกคนต่างถือศิลอดเพื่ออัลลอฮฺ  โดยไม่โอ้อวด  ไม่ต้องการ
การตอบแทนด้วยการสรรเสริญชมเชย  การขอบคุณจากมนุษย์ด้วยกัน
การถือศิลอดเป็นการแสดงออกถึงความจริงใจในการประกอบอิบาดะฮฺ  เพราะอัลลอฮฺ
ได้ทรงให้มนุษย์คุ้มครองตนเอง  มีความละอายในการที่เขาต้องโกหกตัวเอง  และพยายาม
รักษาเกียรติของตัวเอง  ไม่มีมนุษย์คนใดสามารถควบคุมผู้ถือศิลอดนอกจากตัวของเขาเอง
และพระองค์อัลลอฮฺ  การถือศิลอดเป็นการปฎิบัติอิบาดะฮฺในทางลับ  ซึ่งรู้กันเฉพาะตัวของ
ผู้ถือศิลอดและพระเจ้าของเขาเท่านั้น  ถ้าหากว่า  เขาไม่เกรงกลัวอัลลอฮฺอย่างแท้จริง
และไม่หวังความโปรดปราน  ความเมตตาและการอภัยโทษจากอัลลอฮฺแล้ว
เขาก็จะไม่งดรับประทานอาหารและการดื่มเครื่องดื่ม  ในภาวะที่เขามีความหิวโหยและมีความ
หิวกระหายอย่างแน่นอน  เขาจะไม่ยับยั้งตัวของเขาไม่ให้เสพย์สิ่งโอชารส 
และไม่ระงับจิตใจของเขาไม่ให้แสวงหาสิ่งที่เขาทะยานอยาก  โดยเหตุนี้ 
อัลลอฮฺจึงได้ทรงกำหนดการตอบแทนการถือศิลอดว่า
พระองค์จะทรงตอบแทนด้วยพระองค์เอง  ไม่มีผู้ใดรู้ถึงขนาดของการตอบแทนว่า
มีมากมายเพียงใดนอกจากพระองค์ 
ท่านอบู ฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ  กล่าวว่า
ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า
' ' อัลลอฮฺตรัสว่า  การงานทั้งหมดของลูกหลานอาดัมเป็นของเขา  นอกจากการถือศิลอด
แท้จริงมันเป็นของข้า  และข้าจะเป็นผู้ตอบแทนมัน  การถือศิลอดเป็นโล่ห์
(ขัดขวางการทำความชั่ว)
ในวันที่คนหนึ่งในพวกเจ้าถือศิลอด  เขาอย่ากระทำลามกอนาจาร  อย่าพูดจาสามหาว
หากว่าคนหนึ่งได้ด่าทอเขาหรือวิวาทกับเขา  เขาจงกล่าวเถิดว่า  แท้จริงฉันถือศิลอด
ขอสาบานด้วยผู้ที่ชีวิตของมุฮัมมัดอยู่ในพระหัตย์ของพระองค์  กลิ่นปากของผู้ถือศิลอด
มีความหอมณ อัลลอฮฺ  ยิ่งกว่ากลิ่นชมดเชียงเสียอีก  สำหรับผู้ถือศิลอดจะดีใจใน
2 วาระ  เมื่อเขาละศิลอด
เขาดีใจในการละศิลอดของเขา  และเมื่อเขาได้พบพระเจ้าของเขา  เขาดีใจ(ในการตอบแทน)
การถือศิลอดของเขา ' ' บันทึกโดย บุคอรียฺ  อีกรายงานหนึ่งซึ่งบันทึกโดย บุคอรียฺ  ว่า
' ' เขาละทิ้งอาหารของเขา  เครื่องดื่มของเขา  และอารมณ์ใคร่ของเขาเพื่อข้า 
การถือศิลอดเป็นของข้า
และข้าจะตอบแทนมัน  และหนึ่งความดีจะได้รับการตอบแทนเป็นสิบเท่า ' '
 

 
 
preecha p.r.ma@hotmail.com [124.122.247.xxx] เมื่อ 17/06/2013 12:31
ท่านคือผู้ที่อัลลอฮฺทรงคัดเลือก
2
อ้างอิง
. .ปัจจุบันนี้  เรากลับพบผู้ถือศิลอดจำนวนมากที่มีลักษณะตรงข้ามกับที่กล่าวมาข้างต้น
โดยที่การถือศิลอดได้กลายเป็นสาเหตุให้เกิดความเครียด  มีความหงุดหงิด  การมีอารมณ์เสีย
โมโหฉุนเฉียว  บันดาลโทษะด้วยเหตุที่ไม่พอใจเล็กๆน้อยๆ  บุคคลเหล่านี้มีความเข้าใจผิดไปว่า
การแสดงความกริ้วโกรธ การบันดาลโทษะและการกระหายเนื่องจากการถือศิลอด
เมื่อคนหนึ่งโกรธ  บางครั้งเขาจะใช้คำพูดหยาบคาย  การด่าทอ  ผู้ที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย
จะพูดกับคู่กรณีว่า  'ปล่อยเขาไปเถิด อย่าได่ข้องแวะกับเขาเลย เพราะเขาถือศิลอด'
. . . อันที่จริงแล้ว  นั่นคือ อุปาทาน  การมีอุปนิสัยที่ไม่ดี  การหลงผิด  การไม่มีความรู้
การไม่มีความซาบซึ้งในศาสนา  การไม่มีความเข้าใจในเจตนารมณ์ของการถือศิลอด
การมีความโง่เขลาแต่อวดฉลาด  เพราะพฤติกรรมดังกล่าวค้านกับเป้าหมายของการถือศิลอด
นั่นคือปลูกฝังความตั๊กวา(ยำเกรง)อัลลอฮฺ  ซึ่งพระองค์ได้ทรงบัญญัติการถือศิลอดเพื่อการนี้
และค้านกับหะดีษของท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ซึ่งระบุถึงลักษณะของผู้ถือศิลอด
ที่แท้จริง  แต่การกระทำข้างต้นเป็นลักษณะของผู้ถือศิลอดแบบจอมปลอม
 
.   .   .   .การถือศิลอดเป็นอิบาดะฮฺ
การถือศิลอดเป็นการปฎิบัติอิบาดะฮฺทางร่างกาย  ตราบใดที่บุคคลถือศิลอดเขาก้เท่ากับว่า
ยังอยู่ในสถาพของการปฎิบัติอิบาดะฮฺและการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ  จึงไม่อนุญาตให้ผู้ถือศิลอด
ฝ่าฝืนบัญญัติของอัลลอฮฺ  และปฎิบัติในสิ่งที่ขัดกับความสงบเสงี่ยม  การนอบน้อม  ความสำรวม
การวิงวอนขอพร(ขอดุอาอฺ)  การขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ  ดังนั้น  จึงไม่อนุญาตให้ผู้ถือศิลอด
ใส่ร้าบป้ายสีด่าทอนินทา พูดจาหยาบคาย  โมโหฉุนเฉียว  ปากบอน 
พูดปด  บิดพริ้ว  ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
ดูหมิ่นดูแคลน ฯลฯ  ถ้าผู้ถือศิลอดคนใดกระทำเช่นนี้ก็เท่ากับว่า 
เขาได้ทำลายผลการตอบแทนของเขาที่จะได้รับจากอัลลอฮฺ  และทำให้รางวัลของเขา
ต้องสูญหายไป  บางทีผู้ถือศิลอดอาจจะไม่ได้รับผล
ตอบแทนใดๆเลยก็ได้  ดังที่ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม 
ได้กล่าวไว้ในหะดีษของท่านซึ่ง
ท่านนะซาอีย์และอิบนิมาญะฮฺได้บันทึกไว้ว่า
' ' มีจำนวนเท่าไรแล้วจากผู้ถือศิลอด  เขาไม่ได้รับสิ่งใดจากการถือศิลอดของเขานอกจาก 
ความหิวโหยและความกระหาย ' '
 
.     .บัญญัติศาสนามีความผูกพันกัน
พึงรู้เถิดว่าบัญญัติต่างๆในศาสนาอิสลามมีความผูกพันกัน  จะขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไม่ได้
ไม่ว่าจะเป็นการศรัทธาต่ออัลลอฮฺ  การศรัทธาต่อบรรดามะลาอิกะฮฺ  ต่อบรรดาคุมภีร์
ต่อบรรดาร่อซูล  ต่อวันอาคีเราะฮฺ  ต่อการกำหนดสถาวะ  สภาพหลังความตาย  ชีวิตในกุบู้ร
สวรรค์  นรก  การกล่าวคำปฎิญาณ  การดำรงละหมาด  จ่ายซากาต  การถือศิลอดในเดือน
รอมฎอน  การประกอบพิธีฮัจญ์  หลักอิฮฺซาน  การมีความบริสุทธิ์ใจ  ความซื่อสัตย์  มีสัจจะ
ความสุภาพอ่อนโยน  การให้ความเคารพยกย่อง  การภักดี  นอบน้อม ฯลฯ
ผู้ใดที่นับถือศาสนาอิสลาม  เขาจำเป็นจะต้องปฎิบัติตามบัญญัติอิสลามทั้งหมด  จะละทิ้ง
บัญญัติข้อหนึ่งข้อใดไม่ได้
โดยเหตุนี้  ชนรุ่นแรกที่ดี(สลัฟซอและฮฺ)จึงยึดมั่นปฎิบัติตามบัญญัติอิสลามอย่างเคร่งครัด
ท่านเหล่านั้นศรัทธา  ปฎิบัติศาสนกิจด้วยความบริสุทธิ์ใจ  และรณรงค์ในหนทางของอัลลอฮฺ
อย่างจริงจัง  ท่านเหล่านั้นถือศิลอดในตอนกลางวัน  ละหมาดกิยามในตอบกลางคืน
สั่งเสียกันให้ทำความดี  ห้ามปรามกันไม่ให้ทำความชั่ว  ดำรงอยู่กับความจริง
และมีความอดทนในการเรียกร้องไปสู่ศาสนาของอัลลอฮฺ  มีความสำรวมตนมีความนอบน้อม
และมีความสุจริตใจในการปฎิบัติเพื่ออัลลอฮฺ  จึงทำให้มุสลิมเป็นผู้มีเกียรติ  น่าเกรงขาม
น่าเคารพนับถือ  น่าคบค้าสมาคม  และได้รับการยกย่องจากชนชาติต่างๆ  ในฐานะประชาชาติ
ตัวอย่าง  แต่ทว่า  บรรดามุสลิมรุ่นหลังๆบางส่วน  ต่างละเลยต่อบัญญัติศาสนา  โดยไม่เห็นความ
สำคัญของศาสนาอิสลาม  มีเจตนาดูหมิ่นดูแคลน  และมีจิตใจอคติต่อศาสนาที่ตนนับถือ
พวกเขาละทิ้งหลักการศรัทธา  ละเลยต่อจริยธรรมอิสลาม  ไม่ปฎิบัติละหมาด  การถือศิลอด
การจ่ายซากาต  การประกอบพิธีอัจญ์  เย้ยหยันและเหยียดหยามต่อบัญญัติอิสลาม
ขณะเดียวกันก็ยกย่องเชิดชูเห็นดีเห็นงามกับหมู่ชนอื่น
บุคคลเหล่านี้เป็นมุสลิมแต่เพียงชื่อ  นับถือศาสนาอิสลามแบบจำใจ  ด้วยสาเหตุเช่นนี้ 
จึงทำให้เขามีแต่ความตกต่ำ  ไร้เกียรติ  ต้องได้รับการดูหมิ่นดูแคลนจากหมู่ชนอื่น 
มุสลิมบางคนก็ทำตัวเป็นคุณประจบ  สอพอ  เอาอกเอาใจหมู่ชนอื่น 
โดยมีเป้าหมายเพื่ออาศัยเป็นบันไดขึ้นสู่ตำแหน่ง  เกียรติยศชื่อเสียง 
แต่ตำแหน่ง  เกียรติยศ  ชื่อเสียง  ฐานะ  ในโลกดุลยาหาใช่สิ่งที่มีคุณค่าใดๆ
ณ อัลลอฮฺ ตะอาลาไม่พระองค์ตรัสว่า
' ' ' และเกียรติยศเป็นของอัลลอฮฺ  เป็นของร่อซูลของพระองค์  และเป็นของบรรดามุมิน
  แต่บรรดามุนาฟิก(กลับกลอก)ไม่รู้ ' ' ' ซูเราะฮฺอัล มุนาฟิกูน  ที่8
มุสลิมบางคนละหมาด 5 เวลา  และมีทรัพย์สินครบจำนวนที่ต้องจ่ายซากาต 
มีความสามารถที่จะต้องเดินทาง
ไปประกอบพิธีฮัจญ์  เขาไม่ยอมจ่ายซากาตและไม่ยอมเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ 
โดยมีข้ออ้างต่างๆนานา
แต่แท้ที่จริงนั้น  เขาไม่ยอมจ่ายซากาตและไม่ยอมเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ 
เนื่องจากมีความรักความหวงแหน  และมีความหลงใหลในทรัพย์สินมากกว่า
การปฎิบัติตามบัญญัติของอัลลอฮฺ  เขาคิดว่า
ทรัพย์สินเหล่านั้น  เขาได้แสวงหาหามาด้วยตัวของเขาเอง  ไม่ใช่ความโปรดปรานของอัลลอฮฺ
ที่ได้ทรงประทานมาให้การฝ่าฝืนบัญญัติของอัลลอฮฺเช่นนี้เขาจะต้องได้รับการลงโทษ
  จากอัลลอฮฺอย่างแสนสาหัสที่สุด  และต้องได้รับความ
วิบัติและ  การเป็นผู้ล้มละลายในโลกอาคีเราะฮฺ
 
อัลลอฮฺตรัสว่า
' ' ' และความวิบัติเป็นของผู้ตั้งภาคีกับอัลลอฮฺ  บรรดาผู้ซึ่งไม่จ่ายซะกาต  และ
พวกเขาปฎิเสธวันอาคีเราะฮฺ ' ' ' ซูเราะฮฺ ฟุสสิลัต ที่ 6 ' 7
มุสลิมอีกกลุ่มหนึ่งถือว่า  เดือนรอมฎอนเป็นเดือนแห่งการทำความดี  พวกเขาจะถือศิลอด
จะละหมาดฟัรฎูภายในเวลา  จะละหมาดซุนนะฮฺต่างๆอย่างครบถ้วน  จะทำความดีทุกอย่าง
โดยมีความหวังว่าความดีที่ทำในเดือนรอมฎอนสามารถลบล้างความผิดและความชั่วที่เขาได้
ปฎิบัติมาตลอดทั้งปี  ดังนั้น  เมื่อเดือนรอมฎอนผ่านไป  เขาก็กลับไปทำความชั่วตามเดิม
มุสลิมอีกประเภทหนึ่งเคร่งครัดในการถือศิลอดในเดือนรอมฎอน  แต่ทว่า 
การถือศิลอดของเขาเป็น
เพียงการปฎิบัติตามธรรมเนียมสืบต่อมาจากบรรพบุรุษ  หรือพวกเขาถือศิลอดเพื่อทำให้เหมือน
มุสลิมโดยทั่วไป  และเพื่อจะได้ไม่ถูกตำหนิจากมุสลิมอื่นๆ  ขณะเดียวกัน  เขาก็ละทิ้งละหมาดหรือ
จะปฎิบัติก็ด้วยความเกียจคร้าน  หรือเพื่อที่จะโอ้อวดผู้อื่น
ยังมีมุสลิมอีกจำพวกหนึ่งซึ่งถือศิลอดในเดือนรอมฎอน  ดำรงละหมาด จ่ายซะกาต
และได้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์หลายครั้ง  ผลจากการความดีของเขามิได้
ยับยั้งมิให้เขาทำความชั่วได้เลยเขาเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น  ยักยอกทรัพย์สินกินสินบน
ฉ้อโกง เบียดบังสิทธิ ด่าทอนินทา ใส่ร้ายป้ายสี
โป้ปดบิดพริ้ว ปลิ้นปล้อนหลอกลวง
มุสลิมประเภทดังที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดคือ  ผู้ล้มละลาย 
ท่านอบู ฮุรอยเราะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ 
กล่าวว่า
ท่านร่อซูล  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า  ' ' ท่านทั้งหลายรู้ไหมว่า  ผู้ล้มละลายคือใคร?
บรรดาซอฮาบะฮฺกล่าวว่า ' ผู้ล้มละลายในพวกเราคือ  ผู้ที่ไม่มีเงินทองทรัพย์สิน '
 

 
 
preecha p.r.ma@hotmail.com [124.122.247.xxx] เมื่อ 17/06/2013 12:39
ท่านคือผู้ที่อัลลอฮฺทรงคัดเลือก
3
อ้างอิง
ท่านรอซูล กล่าวว่า  ' ผู้ล้มละลายในประชาชาติของฉันคือ  ผู้ที่มาในวันกิยามะฮฺ
โดยมีละหมาด ศิลอด และซากาตเป็นเสบียง  แต่เขาด่าทอคนนี้  ใส่ร้ายคนนี้ 
ยักยอกทรัพย์ของคนนี้
ทำร้ายคนนี้  ทุบตีคนนี้  ความดีของเขาจะถูกนำมาแจกจ่ายให้คนนี้  ให้คนนั้น 
ทำให้ความดีของเขา
หมดไปก่อนที่จะลบล้างความชั่ว  จึงมีการนำเอาความชั่วของผู้อื่นมาใส่รวมไว้กับความชั่วของเขา
แล้วเขาก็ถูกโยนลงไปในนรก '   บันทึกโดย  มุสลิม
ตามความเป็นจริงนั้น  ถ้าหากว่า  ผลการละหมาด การถือศิลอด การจ่ายซะกาต
และการประกอบพิธีฮัจญ์
ได้ซึมซับเข้าไปในวิญญาณและจิตใจของพวกเขา  มันก็จะยับยั้งไม่ให้เขาทำความชั่ว 
และคุกคามและไม่ทำร้ายผู้อื่น
อัลลอฮฺได้ตรัสถึงการละหมาดและผลของการละหมาดไว้ว่า
' ' ' ดังนั้น  ความวิบัติจงมีแด่บรรดาผู้ทำละหมาด คือ ผู้ที่ละเลยต่อการละหมาดของเขา 
และผู้ที่โอ้อวด ' ' '
ซูเราะฮฺ อัล มาอูน ที่ 4 ถึง 6 '
' ' ' และสูเจ้าจงดำรงละหมาด  แท้จริง  การละหมาดจะยับยั้งสิ่งชั่วช้าและเลวร้าย 
และการรำลึกถึงอัลลอฮฺ
ใหญ่ยิ่ง  และอัลลอฮฺทรงรู้ถึงสิ่งที่พวกสูเจ้าปฎิบัติ ' ' ' ซูเราะฮฺ อัล อังกะบูต  ที่45
เกี่ยวกับการถือศิลอด  ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า
' ' ผู้ใดไม่ละทิ้งการพูดเท็จและการปฎิบัติตามการพูดเท็จนั้น  สำหรับอัลลอฮฺจึงไม่มี
ความต้องการใดๆในการที่เขาต้องละทิ้งอาหารและเครื่องดื่มของเขา
' ' บันทึกโดย  บุคอรียฺ อบูดาวู๊ด และติรมีซียฺ
สำหรับการทำฮัจญ์ ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า
' ' ผู้ใดที่ทำฮัจญ์  แล้วเขาไม่ทำอนาจาร  และไม่พูดจาหยาบคาย  เขาจะกลับมา
(โดยมีความบริสุทธิ์ใจ) ดังเช่นวันที่เขาคลอดออกจากครรภ์ของมารดา ' '
ในเมื่อเราทราบว่า  ความวิบัติจะเป็นของผู้ละเลยหรือโอ้อวดในการละหมาด
การหวงแหนทรัพย์สินไม่ยอมจ่ายซะกาต  ไม่ยอมเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์
หรือไม่ยอมรักษาพันธะเกี่ยวกับการละหมาด  การจ่ายซะกาต  การถือศิลอด
และการประกอบพิธีฮัจญ์  จะไม่มีผลให้เขาได้รับการตอบแทนจากอัลลอฮฺแต่ประการใด
ดังนั้น  จึงจำเป็นต้องพิถีพิถันในการรักษาบัญญัติของอัลลอฮฺ  และรักษาเงื่อนไขในการประกอบ
อิบาดะฮฺ  เพื่อจะได้รับการตอบแทนจากอัลลอฮฺโดยครบถ้วน
 
................การถือศิลอดกับสุขภาพ
การถือศิลอดคือ  การระงับการกิน การดื่ม และการประกอบกามกิจตั้งแต่แสงอรุณขึ้น
จนกระทั้งดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ตามนัยนี้หมายถึงว่า  มุสลิมจะใช้เวลากลางวัน
ในการอดอาหารและเวลากลางคืนในการพักผ่อน  จึงไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนและความ
ลำบากยาก  แต่ก็น่าสังเกตุว่ามุสลิมจำนวนไมาน้อยที่กล่าวอ้างว่า  การถือศิลอดเป็นสาเหตุให้
เกียจคร้าน มึนงง  ขาดความกระฉับกระเฉง  และพวกเขาได้กล่าวตำหนิการถือศิลอดต่างๆนานา
นี่คือ  การใส่ร้ายป้ายสีต่อหลักอิสลามซึ่งได้รับการเสี้ยมสอนมาจากสัตรูของอิสลาม
ผู้ที่อีมานอ่อนแอจะกล่าวอ้างว่า  มีความลำบากในการถือศิลอด
ถ้าหากว่า  เราวิเคราะห์กันด้วยเหตุผลแล้วจะพบว่า  ความรู้สึกเฉื่อยชา  ขาดความกระฉับกระเฉง
มิได้มีสาเหตุมาจากการถือศิลอด  แต่ทว่า  ความเฉื่อยชา  ขาดความกระฉับกระเฉง
มักจะเกิดขึ้นเนื่องจากการรับประทานอาหารอย่างตะกรุมตะกรามจนอิ่มแป้  การกินจุกกินจิก  ตั้งแต่
เริ่มแก้ศิลอดจนกระทั้งแสงอรุณของวันใหม่ปรากฎขึ้น  บางคนก็อดนอนเกือบจะตลอดคืน 
โดยสรวลเสเฮฮา
สนุกกับการละเล่น  พูดคุยในเรื่องไร้สาระ  ดื่มกินโดยไม่เปิดโอกาสให้กระเพาะได้พักผ่อน 
บางคนใช้เวลา
พักผ่อนเพียงเล็กน้อยอาจจะหลังรับประทานอาหารสะฮู้ร  หรือหลังจากละหมาดซุบฮฺ
  เมื่อตื่นนอนก็ต้องรีบเดินทางไปทำงาน
ขณะเดียวกัน  อาหารและเครื่องดื่มที่ถูกอัดอยู่ภายในกระเพาะ   ทำให้กระเพาะต้องทำงานหนักในการย่อยอาหารจึงทำให้ผู้ถือศิลอดรู้สึกอึดอัด  บางครั้งเกิดอาการท้องอืดหรือมีแก็สจำนวนมากอยู่ภายในกระเพาะ  จึงทำให้มี
การเรอและผายลมบ่อยครั้ง  พร้อมกับมีความรู้สึกว่า  มีความเฉือยชาและอึดอัด
ถ้าหากว่า  ผู้ถือศิลอดรับประทานอาหารเบาๆ  เมื่อเริ่มถือศิลอดแล้วไปละหมาดมักริบ
เพื่อเป็นการเตือนให้กระเพราะได้รับรู้ว่า  จะต้องเริ่มย่อยอาหาร  เมื่อละหมาดมักริบ
เรียบร้อยแล้วค่อยรับประทานอาหารหนักอย่างช้าๆไม่ต้องรีบร้อน  และรับประทานอาหาร
แต่พออิ่มหลังจากนั้นก็ไปรับประทานอาหารอะไรอีกนอกจากที่จำเป็น  เมื่อถึงเวลาสะฮู้รค่อย
รับประทานอาหารสะฮูร  ถ้าหากเป็นเช่นนี้ความอึดอัดเฉื่อยชาในตอนเช้าจะไม่ปรากฎขึ้น 
เข้าจะตื่อนเช้าด้วยความกระฉับกระเฉง มีความสดชื่น แข็งแรง
ในวันธรรดาโดยทั่วไป  หลายคนมักจะดื่มน้ำชาหรือกาแฟ  และรับประทานขนมปังเพียง
2 หรือ 3 ชิ้นเป็นอาหารเช้า  โดยไม่รับประทานอาหารอื่นใดอีก  จนกว่าจะถึงตอนกลางวัน
  และบางคนก็รับประทานอาหารเพียง 2 มื้อในวันหนึ่ง  คือมื้อเช้ากับมื้อเย็น 
ถ้าหากว่า  เรานำมาเปรียบเทียบกับการรับประทาน
อาหารในเดือนรอมฎอนแล้ว  การรับประทานอาหารในเดือนรอมฎอน เป็นการเปรียนเวลา
ในการรับประทานไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
 
...............คำพูดจริงแต่บิดเบือนเจตนา
นายแพทย์บางคนมีใจอคติต่อการถือศิลอด  โดยกล่าวใส่ไคล้ว่า  การถือศิลอดทำให้เกิด
อาการท้องเสีย  อาหารเป็นพิษ เกิดโรคกระเพาะ  เพิ่มกรดในเลือด  ทำให้อาการของโรค
กำเริบขึ้น  หรือทำให้น้ำตาลในเลือดมีปริมาณลดลง  คำพูดเช่นนี้มีเจตนาบิดเบือนข้อเท็จจริง
เพราะสาเหตุที่ทำให้อาการเช่นนี้เกิดขึ้น  เนื่องจากได้ระงับการกินการดื่มนานกว่าเวลาที่กำหนด
ในการถือศิลอด  หรือไม่ปฎิบัติตามคำสั่งของแพทย์โดยเคร่งครัด  ขณะที่เริ่มเจ็บป่วย
เมื่อถือศิลอดอาการของโรคจึงกำเริบขึ้น
 

 
 
preecha p.r.ma@hotmail.com [124.122.247.xxx] เมื่อ 17/06/2013 12:47
ท่านคือผู้ที่อัลลอฮฺทรงคัดเลือก
4
อ้างอิง
...............อัลลอฮฺไม่ทรงบังคับใช้ให้ประฎิบัติศาสนกิจนอกจากเท่าที่สามารถ
ประเด็นที่สำคัญที่มีความสัมพันธ์กันคือ   การถือศิลอด การเจ็บป่วย การรักษา
และการผ่อนผันไม่ต้องถือศิลอด  หลักการขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับบัญญัติอิสลามคือ
' ' ' อัลลอฮฺไม่ทรงบังคับใช้ชีวิตใด  เว้นแต่เท่าที่มันสามารถ ' ' ' ซูเราะฮฺ อัล บะเกาะเราะฮฺ
ที่286
ท่าน นบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า
' ' ไม่ก่อให้เกิดผลร้ายและไม่เป็นการบ่อนทำราย ' '
อัลลอฮฺมิได้ทรงบัญญัติศาสนกิจมาเพื่อให้มุสลิมปฎิบัติจนเกินความสามารถของเขา
ขณะเดียวกันบัญญัติทุกบัญญัติมีข้อผ่อนผัน  เช่น  สตรีที่มีรอบเดือนหรือเลือดหลัง
การคลอดบุตรย่อมได้รับการยกเว้น  ไม่ต้องปฎิบัติละหมาด  ผู้ที่มีทรัพย์สินไม่ครบตาม
อัตรากำหนดก็ไม่ต้องจ่ายซะกาต  ผู้ที่ไม่มีความสามารถตามที่ศาสนากำหนด 
เขาก็ได้รับการผ่อนผันไม่ต้องเดินทางไป
ประกอบพิธีฮัจญ์เช่นเดียวกัน  ผู้ที่เจ็บป่วยก็ได้รับการยกเว้นไม่ต้องถือศิลอดใน
เดือนรอมฎอนแต่ต้องถือศิลอดใช้ในเดือนอื่น  ส่วนผู้ที่ชราภาพหรือผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรัง
ไม่มีความสามารถถือศิลอดได้ก็ได้รับการยกเว้นไม่ต้องถือศิลอด  แต่ต้องจ่ายอาหาร
เป็นการทดแทนเนื่องจากบัญญัติยกเว้นเป็นกรณีผ่อนผัน  ไม่ใช่การบังคับไม่ให้ถือศิลอด
  ผู้เจ็บป่วยจึงจำเป็นจะต้องเอา
อีมานของเขาเป็นเครื่องวัดว่า  เขาสมควรจะได้รับการผ่อนผันไม่ต้องถือศิลอดหรือไม่?
ขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องอาศัยแพทย์ผู้ซื่อสัตย์(สมควรเป็นแพทย์มุสลิม)  ผู้มีจรรยาแพทย์
มาทำการวิจัยโรคว่า  การถือศิลอดจะเป็นอันตรายหรือทำการเจ็บป่วยกำเริบขึ้นหรือไม่ 
ดังนั้น ถ้าหากว่านายแพทย์วินิจฉัยว่า  การถือศิลอดไม่เป็นอันตรายต่อการเจ็บป่วยของเขา 
เขาก็ต้องถือศิลอด
แทนที่จะละการถือศิลอด  อัลลอฮฺตรัสว่า
' ' ' และการที่สูเจ้าทั้งหลายถือศิลอดย่อมเป็นการดีสำหรับสูเจ้าทั้งหลาย  หากว่าสูเจ้าทั้งหลายรู้  ' ' '
ซูเราะฮฺ อัล บะเกาะเราะฮฺ  ที่184
 
................ความจำเป็นในการงดเว้นการถือศิลอด
บางที่การไม่ถือศิลอดในเดือนรอมฎอนเป็นความจำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้โรคร้าย
กำเริบขึ้น  โดยยึดหลักที่ว่า ' ป้องกันไว้ก่อนดีกว่าแก้ไขในภายหลัง '
ดังนั้น  จึงมีผู้ที่จำเป็นต้องถือศิลอดได้รับการผ่อนผันไม่ต้องถือศิลอดอาทิเช่น
ผู้ตั้งครรภ์ ผู้ให้นมบุตร ผู้เป็นโรคขาดเลือด ผู้เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแอ ผู้เป็นโรค
กระเพาะอาหาร หรือโรคเรื้อรังที่เป็นอันตรายอื่นๆ
การเจ็บป่วยแต่ละโรคย่อมมีอาการและความรุนแรงที่แตกต่างกัน  บางครั้งขึ้นอยู่กับ
กำลังใจของผู้ป่วยและวิธีการรักษา  ในกรณีนี้การอนุญาตให้ไม่ต้องถือศิลอดต้องได้
รับการยืนยันจากแพทย์ที่เชื่อถือได้ว่า  ถ้าหากถือศิลอดจะทำให้อาการของโรคกำเริบ
ขึ้นหรือการหายป่วยจะช้าลง
................ประโยชน์ของการถือศิลอดกับสุขภาพ
นักวิชาการหลายท่านได้ยืนยันว่า  การอดอาหารเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ
นายแพทย์แมกฟาดิน  ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางอนามัยได้สร้างศูนย์สุขภาพที่มีชื่อเสียงขึ้น
ท่านได้แต่งหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ ' การอดอาหาร ' หลังจากที่ได้พบประโยชน์จากการ
อดอาหารในการรักษาโรคต่างๆ  ท่านกล่าวว่า
' การอดอาหารมีส่วนช่วยในการรักษาโรคต่างๆ ผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์จากการอด
อาหารเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร  การอดอาหารเหมือนกับ
ไม้เท้ากายสิทธิ์ทำให้ผู้ที่เจ็บป่วยหายป่วยได้อย่างรวดเร็ว  นอกจากนี้แล้วการอดอาหารยัง
มีส่วนช่วยในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับโลหิต เส้นโลหิต รูมาตีซั่ม '
นายแพทย์ฟาดินกล่าวต่อไปว่า
' การอดอาหารจะช่วยขจัดส่วนเกิน  สิ่งหมักหมมที่เป็นพิษและส่วนเหลือของยาที่สะสม
อยู่ในร่างกายจึงทำให้เขาเป็นคล้ายกับเจ็บป่วย  มีความอึดอัด 
และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นทำให้ขาดความกระปรี้กระเปร่า  เมื่อเขาอดอาหารน้ำหนักตัวของเขา
ก็จะลดลง  พิษต่างๆที่สะสมอยู่ในร่างกายจะถูกขับออกไป  ร่างกายจะมีความกระชุ่มกระชวย
แข็งแรง และสุขภาพดี
 
.................รอมฎอนเดือนแห่งการกินการดื่ม
ผู้ถือศิลอดจำนวนไม่น้อยที่ประฎิบัติตัวค้านกับเป้าหมายของการถือศิลอด
และข้อกำหนดของเดือนรอมฎอน  โดยคิดไปว่า  เดือนรอมฎอนคือ เดือนแห่งการกิน
การดื่มจึงมีการตระเตรียมเสบียงอาหารไว้อย่างมากมายเพื่อรับประทานในเดือนรอมฎอน
ทุกเย็นและย่ำรุ่งจะมีการเตรียมคาวหวานอย่างมากมายเต็มสำรับ  เพื่อเป็นอาหารละศิลอด
และเป็นอาหารสะฮู้ร  เมื่อถึงเวลาละศิลอดเขาจะรับประทานอาหารอย่างอิ่มปลิ้น
และบ่อยครั้งที่มีการกินจุกกินจิกจนถึงเวลาอาหารสะฮู้ร  ดังนั้น  แทนที่เดือนรอมฎอน
จะเป็นเดือนที่เขาสามารถลดน้ำหนัก  กลับเป็นเดือนที่เพิ่มน้ำหนัก  แทนที่การถือศิลอด
ของเขาจะทำให้เขาได้รู้ถึงจิตใจของคนยากจน  สภาพของพวกเขา  และมีความเห็นอกเห็น
ใจเขาเหล่านั้นกลับกลายเป็นว่า  เดือนรอมฎอนเป็นเดือนแห่งการเสวยสุข  สนุกสนานกับการกิน 
การดื่มและเพลิดเพลินอยู่กับลาภปาก
พึงรู้เถิด  การเตรียมอาหารหวานคาวอย่างดีมากมายจนเต็มสำรับ  เพื่อรับประทานขณะละ
ศิลอดและเป็นอาหารสะฮู้ร  มิใช่เป้าหมาย  และไม่เป็นเงื่อนไขของการถือศิลอดแต่อย่างใด
....................โทษทัณฑ์ของผู้ละเว้นการถือศิลอดในเดือนรอมฎอน
การถือศิลอดเป็นหลักการของศาสนาอิสลาม  จึงจำเป็นที่มุสลิมจะต้องยึดถือปฎิบัติ
โดยเคร่งครัด  ถ้าผู้ใดปฎิเสธว่า  การถือศิลอดไม่ใช่หลักการของศาสนาอิสลามแล้ว
เขาก็สิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม(มุรตัด)  แต่ถ้าผู้ใดไม่ถือศิลอดเนื่องจากการเกียจคร้าน
เขาจะต้องถูกลงโทษสถานหนัก  ท่านอิบนุอับบาส  กล่าวว่า
ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า
' ' สายเชือกของอิสลามและหลักของศาสนามี 3 ประการ  บน 3 ประการนั้นคือรากฐานของ
อิสลามผู้ใด  ที่ละทิ้งประการหนึ่งจาก 3 ประการนี้  เขาคือ  ผู้ปฎิเสธชีวิตของเขาเป็นที่อนุมัติ 
นั่นคือการกล่าวปฎิญาณว่า  ไม่มีพระเจ้าอื่นใด  นอกจากอัลลอฮฺละหมาดฟัรดูและการถือ
ศิลอดในเดือนรอมฎอน ' ' บันทึกโดย อบูยะอฺลา  และอัดดัยละมียฺ  อัซซะฮะบียฺกล่าวว่า 
เป็นหะดีษถูกต้อง
ผู้ที่มีเจตนาไม่ถือศิลอดในเดือนรอมฎอน  อัลลอฮฺจะไม่ทรงรับการถือศิลอดใช้ของเขา
แม้ว่าเขาจะถือศิลอดใช้จนชั่วชีวิตก็ตาม  ท่านอบู ฮุรอยเราะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ  กล่าวว่า
ท่าน นบีมุฮัมมัด  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม   กล่าวว่า
' ' ผู้ใดที่ไม่ถือศิลอดวันหนึ่งในเดือนรอมฎอน  โดยที่เขาไม่มีเหตุขัดข้องตามที่อัลลอฮฺได้ทรง
ผ่อนผันให้แก่เขา  การถือศิลอดตลอดไปของเขาก็ไม่อาจชดใช้การขาดศิลอดของเขาได้
แม้ว่า  เขาจะถือศิลอดใช้ก็ตาม ' ' บันทึกโดย อบูดาวู๊ด  อิบนุ มาญะฮฺ  และอัตติรมีซียฺ
 
................ผู้ที่จำเป็นต้องถือศิลอด
การถือศิลอดตามศาสนบัญญัติหมายถึง  เจตนาระงับการกิน  การดื่ม
ในเดือนรอมฎอนเพื่ออัลลอฮฺ  ตั้งแต่แสงอรุณขึ้น  จนกระทั่งดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า
การถือศิลอดเป็นหน้าที่จำเป็นสำหรับมุสลิมและมุสลิมะฮฺ  ผู้บรรลุศาสนภาวะ
มีสติสัมปชัญญะ  มีสุขภาพดี  มิได้เดินทาง  ไม่มีรอบเดือน(เฮฎ)
หรือเลือดหลังคลอดบุตร(นิฟาส)
...............ประเภทของการถือศิลอด
การถือศิลอดแบ่งเป็นประเภทต่างๆดังนี้คือ
1...การถือศิลอดที่เป็นฟัรฎู  คือ  การถือศิลอดในเดือนรอมฎอน
2...การถือศิลอดชดใช้(กอฎออฺ)  คือ  การถือศิลอดของผู้ที่ได้รับการผ่อนผันไม่ต้อง
ถือศิลอดในเดือนรอมฎอน  เนื่องจากการเจ็บป่วย  หรือเดินทางฯลฯ  ซึ่งจะต้องถือ
ศิลอดใช้ในวันอื่น
อัลลอฮฺ  ตรัสว่า
' ' ' ดังนั้นผู้ใดจากพวกสูเจ้าเจ็บป่วยหรืออยู่ในการเดินทาง  ก็เลือนการถือศิลอดไปในวันอื่น ' '
ซูเราะฮฺอัล บะเกาะเราะฮฺ  ที่185
3...การถือศิลอดตามที่ได้บนบาน(นะซัร)  เมื่อคนหนึ่งได้บนบานกับอัลลอฮฺว่า  ' ถ้าหากว่า
ฉันหายป่วย  ฉันจะถือศิลอด 3 วัน '  เมื่ออัลลอฮฺทรงประทานให้เขาหายป่วย  ก็จำเป็นที่เขา
จะต้องถือศิลอดตามที่ได้บนบานไว้
4....การถือศิลอดเพื่อเป็นค่าปรับ(กัฟฟาเราะฮฺ)  ซึ่งอาจมีสาเหตุสืบเนื่องมาจาก
ก...เจตนาร่วมเสพย์สุขทางเพศกับภรรยาขณะถือศิลอด  ในเดือนรอมฎอน  หรือเจตนาสำเร็จ
ความใคร่ด้วยตนเอง  หรืออื่นใด  ในกรณีนี้จะต้องถือศิลอดใช้ 2 เดือนติดต่อกัน
โดยขาดตอนไม่ได้  ถ้าหากว่า  ขาดตอนก็ต้องเริ่มใหม่
 

 
 
preecha p.r.ma@hotmail.com [124.122.247.xxx] เมื่อ 17/06/2013 12:58
ท่านคือผู้ที่อัลลอฮฺทรงคัดเลือก
5
อ้างอิง
............องค์ประกอบของการถือศิลอด
องค์ประกอบของการถือศิลอดมี 2 ประการคือ
1 . มีเจตนา(เนียต)  ในการถือศิลอด  การถือศิลอดจะใช้ไม่ได้หากไม่มีเจตนา
ทั้งนี้เพื่อจะแยกกันระหว่างการอดอาหารธรรมดากับการถือศิลอดเพื่ออัลลอฮฺ
การมีเจตนาหมายถึงการตั้งจุดมุ่งหมายว่า  จะถือศิลอดในเดือนรอมฎอน
เพื่ออัลลอฮฺ  ไม่ใช่เปล่งออกมาเป็นคำพูด  เจตนานี้จะมีขึ้นในตอนกลางคืนของ
วันถือศิลอด  เพราะท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า
' ' ผู้ใดที่มิได้ตั้งเจตนาถือศิลอดก่อนแสงอรุณขึ้น  ก็ไม่ถือว่าเป็นการถือศิลอดของเขา ' '
บันทึกโดย บรรดาเจ้าของสุนัน
สิ่งที่แสดงถึงการมีเจตนาในการถือศิลอดโดยอนุโลมคือ  การลุกขึ้นมาหุงหาอาหาร
และรับประทานในเวลาสะฮู้ร
2 . งดการกิน การดื่ม  การเสพย์สุขทางเพศในตอนกลางวันของเดือนรอมฎอน  อัลลอฮฺ
ตรัสว่า' ' ' และสูเจ้าทั้งหลายจงกินจงดื่มจนกระทั้งด้ายขาว(กลางวัน)ประจักษ์แก่พวกสูเจ้า
จากด้ายดำ(กลางคืน)จากรุ่งอรุณ ' ' ' ซูเราะฮฺอัล บะเกาะเราะฮฺ  ที่187
 
..........สิ่งที่ผู้ถือศิลอดควรปฎิบัติ
1 . ล่าช้าการรับประทานอาหารสะฮู้ร  เพราะท่านอัลดุลอะซีซ อิบนิสุไฮบฺ  กล่าวว่า
ฉันได้ยินท่านอนัส อิบนิมาลิก ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ  กล่าวว่า
ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า
' ' ท่านทั้งหลายจงรับประทานอาหารสะฮู้ร  แท้จริง  ในอาหารสะฮู้รมีบะร่อกัต ' '
บันทึกโดย  บุคอรียฺ
ท่านเชค อิบนิซาบิ้ต ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา  กล่าวว่า  ' เราได้รับประทานอาหารสะฮู้รกับ
ท่านร่อซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  แล้วเราก็ลุกขึ้นไปละหมาด  ฉันกล่าวว่า 
ระยะเวลาจากการรับประทานอาหารสะฮู้รกับการละหมาดซุบหฺประมาณเท่าไร?  ท่านกล่าวว่า
' ประมาณอ่านอัล กุรอานได้ 50 อายะฮฺ ' บันทึกโดย บุคอรียฺ และมุสลิม
เวลาที่แสงอรุณขึ้นในปัจจุบันนี้รู้ได้ด้วยการอาซานและการบอกของนาฬิกา  แม้ว่า  เขาจะเคี้ยว
อาหารอยู่ในปากก็จำเป็นจะต้องคายทิ้ง  ถ้าหากว่า  เขากลืนอาหารลงคอก็ถือว่า
เขาเสียศิลอด  และถ้าหากเขามีความสงสัยว่า  แสงอรุณเริ่มปรากฎหรือยัง  ก็อนุญาติให้เขา
รับประทานอาหารต่อไปจนกว่าจะแน่ใจว่า  แสงอรุณปรากฎขึ้นแล้ว  เพราะหลักอิสลามจะไม่
นำเอาความสงสัยมาเป็นเครื่องตัดสิน
2 . รีบละศิลอดเมื่อแน่ใจว่าดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าแล้ว  ท่านอบู ซัรกล่าวว่า
ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า
' ' ประชาชาติของฉันยังคงอยู่ในความดี  ในเมื่อเขาล่าช้าในการรับประทานอาหารสะฮู้ร
และรีบละศิลอด ' 'บันทึกโดย อิมามอะหมัด
การละศิลอดควรรับประทานอาหารเบาๆก่อน  แล้วไปละหมาดมักริบ
ต่อมาค่อยรับประทานอาหารหนัก  ท่านอนัส รอฎิยัลลอฮุอันฮุ  กล่าวว่า
ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้ละศิลอดด้วยอินทผลัมสุก 2 ผล
ก่อนที่ท่านจะไปละหมาดมักริบ  ถ้าหากว่าไม่มีอินทผลัมสุก  ท่านจะละศิลอด
ด้วยอินทผลัมแห้ง 2-3 ผล  ถ้าหากว่าไม่มีอินทผลัมแห้ง  ท่านจะดื่มน้ำ 2-3อึก
บันทึกโดย  อบูดาวู๊ด  อัลฮากิม  และกล่าวว่าเป็นหะดีษที่ถูกต้อง
ท่านซัลมาน อิบนิอามิร รอฎิยัลลอฮุอันฮุมา  กล่าวว่าท่าน
นบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า
' ' เมื่อคนหนึ่งในพวกท่านละศิลอด  ก็จงละศิลอดด้วยอินทผลัม  แท้จริงมันมีบะร่อกัต
และถ้าหากว่า  เขาไม่มีอินทผลัม  ก็ให้ละศิลอดด้วยน้ำ  แท้จริงน้ำมีความสะอาด ' '
บันทึกโดย อัตติรมีซียฺ
. 3 . แปรงฟัน  ชอบให้ผู้ถือศิลอดแปรงฟันขณะถือศิลอดไม่ว่าจะในตอนเช้าหรือตอนเย็น
เพราะท่าน นบีได้แปรงฟันขณะถือศิลอด
. 4 . ทำซอดาเกาะฮฺ  เนื่องจากเดือนรอมฎอนเป็นเดือนแห่งการทำความดี  จึงสมควรที่
ผู้มีฐานะจะเห็นอกเห็นใจ  มีความเมตตาสงสารผู้ที่มีฐานะด้อยกว่า  ท่านติรมีซียฺไรายงาน
จากอนัส อิบนิมาลิก รอฎิยัลลอฮุอันฮุมา  ว่า  มีผู้กล่าวว่า  ' ท่านร่อซูลุลลอฮฺ  ซอดาเกาะฮฺ
อันใดที่ประเสริฐที่สุด?  ท่านกล่าวว่า ' ซอดาเกาะฮฺในเดือนรอมฎอน '
. 5 . การเลี้ยงอาหารละศิลอด  การเลี้ยงอาหารเป็นส่วนหนึ่งจากการทำความดี  ผลบุญของ
การเลี้ยงอาหารมีมากเป็นเท่าทวีคูณ  ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวไว้
ในหะดีษของท่านว่า ' ' เดือนนี้(รอมฎอน)เป็นเดือนแห่งการอดทน  รางวัลของความอดทน
คือสวรรค์  เดือนนี้เป็นเดือนแห่งเมตตา  เป็นเดือนที่ริสกีได้ถูกเพิ่มพูนให้แก่มุอฺมิน
ผู้ใดที่ให้อาหารละศิลอดแก่ผู้ถือศิลอด  มันจะขออภัยโทษในความผิดให้แก่เขาและ
จะขอปลดเปลื้องเขาจากไฟนรก  เขาจะได้รับผลบุญตอบแทนเช่นเดียวกับผลบุญของ
ผู้ถือศิลอด  โดยไม่ทำให้ผลบุญของผู้ถือศิลอดบกพร่องไปแต่ประการใด ' ' บรรดาซ่อฮาบะฮฺ
กล่าวว่า ' ท่านร่อซูล  มิใช่ว่าทุกคนในพวกเราจะพบสิ่งที่จะให้เป็นอาหารละศิลอดแก่ผู้ถือศิลอด '
ท่านร่อซูลกล่าวว่า  'อัลลอฮฺจะทรงตอบแทนผลบุญแก่ผู้ให้อาหารละศิลอด  แม้จะเพียงอินทผลัม
ผลเดียว หรือน้ำอึกเดียว  หรือนมเพียงจอกหนึ่ง  '  บันทึกโดย อัล บัยฮะกียฺ 
และอิบนุคุซัยมะฮฺขณะเดียวกัน  สมควรที่ผู้ได้รับเชิญไปรับประทานอาหารละศิลอด
หรือได้รับอาหารละศิลอดจะขอดุอาอฺให้แก่เจ้าของอาหาร  ท่านอนัส อิบนิมาลิก
รอฎิยัลลอฮุอันฮุมา  กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้ไปหาซะอดฺ
อิบนิอุบาดะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮุมา  ท่านซะอดฺได้นำขนมปังและน้ำนมมาเลี้ยง
ท่านนบีก็รับประทาน  เมื่อเรียบร้อนแล้วท่านกล่าวดุอาอฺว่า
' บรรดาผู้ถือศิลอดได้ละศิลอด ณ ท่าน  ผู้ประกอบความดีได้รับประทานอาหารของท่าน
และมาลาอิกะฮฺได้ขอพรให้ท่าน '  ดุอาอฺอีกบทหนึ่งว่า
' บรรดาผู้ถือศิลอดละศิลอด ณ ท่าน  มะลาอิกะฮฺได้ขอพรให้แก่ท่าน ความสุขสงบได้ลง
มายังท่านและอัลลอฮฺได้ทรงตรัสถึงท่านกับผู้ที่อยู่กับพระองค์ '
. 6 . ขอดุอาอฺให้มาก  ท่านอบู ฮุรอยเราะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ  กล่าวว่า
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า
' บุคคล 3 ประเภทที่ดุอาอฺของพวกเขาไม่ถูกปฎิเสธ คือ  อิมาม(ผู้นำ) ผู้ทรงความยุติธรรม
ผู้ถือศิลอดจนกระทั่งเขาละศิลอด  และคำวิงวอนของผู้ถูกข่มเหง '  บันทึกโดย อิบนุมาญะฮฺ
. 7 . อ่าน อัล กุรอาน  สมควรที่ผู้ถือศิลอดจะฉวยโอกาสในเดือนรอมฎอนโดยอ่าน อัลกุรอาน
เพราะเดือนนี้เป็นเดือนที่ อัล กุรอานได้ถูกประทานมา  อัลลอฮฺตรัสว่า
' ' เดือนรอมฎอนคือ  เดือนที่อัล กุรอานได้ถูกประทานมา  เพื่อนำทางที่ถูกต้องแก่มนุษย์
ทั้งหลายและเป็นหลักฐานที่ชัดแจ้งจากแนวทางที่ถูกต้องและการจำแนกระหว่างความจริง
กับความเท็จ ' 'ซูเราะฮฺอัล บะเกาะเราะฮฺ  อายะฮฺที่ 185
ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนิอุมัร รอฎิยัลลอฮุอันฮุมา  กล่าวว่า  ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
กล่าวว่า  ' การถือศิลอดและอัลกุรอาน  จะขอบรรเทาโทษ(ชะฟาอะฮฺ)  แก่ผู้เป็นบ่าวใน
วันกิยามะฮฺการถือศิลอดจะกล่าวว่า  โอ้ พระเจ้าของฉัน  ฉันได้ยับยั้งเขารับประทานอาหาร
และการปฎิบัติอารมณ์ใฝ่ต่ำ  ดังนั้น  ขอพระองค์ได้โปรดให้ฉันขอบรรเทาโทษให้แก่เขาเถิด
  อัล กุรอาน  กล่าวว่าฉันได้ยับยั้งเขาไม่ให้นอนหลับในยามค่ำคืน  ดังนั้น  ได้โปรดให้ฉัน
ช่วยขอบรรเทาโทษให้เขาเถิด
แล้วทั้งสองก็ได้รับอนุญาตให้ช่วยขอบรรเทาโทษให้ '  บันทึกโดย  อะฮฺมัด
 
..........สิ่งที่ทำให้เสียศิลอด
สิ่งที่ทำให้เสียศิลอดมี 2 ประเภทคือ
. ก . สิ่งที่ทำให้เสียศิลอดและจำเป็นจะต้องถือศิลอดใช้ได้แก่
. 1 . การกินหรือดื่มโดยเจตนา  ถ้าหากว่าการกินหรือการดื่มที่เกิดจากการลืม
หรือถูกบังคับ  ไม่ถือว่าเสียศิลอดและให้เขาถือศิลอดต่อไปจนกระทั่งดวงอาทิตย์ลับ
ขอบฟ้า การถือศิลอดของเขาใช้ได้  ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า
' เมื่อผู้ถือศิลอดรับประทานหรือดื่มเนื่องจากหลงลืม  แท้จริง  นั่นเป็นริสกีที่อัลลอฮฺ
ไทรงประทานให้แก่เขา  และเขาไม่ต้องถือศิลอดใช้ ' บันทึกโดย อัดดารุกุฎนียฺ
ท่านอบู ฮุรอยเราะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ  กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
กล่าวว่า  ' ผู้ใดที่ลืมขณะที่เขาถือศิลอด  แล้วเขารับประทานหรือดื่ม เขาจงถือศิลอดของ
เขาให้สมบูรณ์แท้จริง  อัลลอฮฺคือ  ผู้ทรงให้อาหารและเครื่องดื่มแก่เขา '
บันทึกโดย  บรรดานักบันทึกหะดีษนอกจากนะซาอียฺ
. 2 . การอาเจียรโดยเจตนา ท่านอบู ฮุรอยเราะฮฺ  รอฎิยัลลอฮุอันฮุ  กล่าวว่า
ท่านนรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า  ' ผู้ใดที่การอาเจียรเกิดขึ้น(ตามธรรมชาติ)
ไม่จำเป็นที่เขาต้องถือศิลอดใช้  และผู้ใดที่ทำให้เกิดการอาเจียรโดยเจตนา  เขาก็จงถือศิลอดใช้ '
รายงานโดย นักบันทึกหะดีษทั้ง 5 นอกจากนะซาอียฺ
. 4 . เจตนาทำให้อสุจิหลั่งออกมา  ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม  ทำให้เสียศิลอด  แต่ถ้าหากว่า
มีอสุจิเคลื่อนออกมาขณะนอนหลับก็ไม่ทำให้เสียศิลอด
 
 
preecha p.r.ma@hotmail.com [124.122.247.xxx] เมื่อ 17/06/2013 13:04
ท่านคือผู้ที่อัลลอฮฺทรงคัดเลือก
6
อ้างอิง
........5 . สิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม  ส่วนหนึ่งจากสาเหตุดังกล่าวนี้คือ  การบ่อนทำลาย
อิสลาม  การเหยียบหยามสถานที่สำคัญของอิสลาม  เช่น  บัยตุลลอฮฺ มัสยิด เป็นต้น
การดูหมิ่นดูแคลนอัลลอฮฺ  นบีมุฮัมมัด  คัมภีร์ อัล กุรอาน  การปฎิเสธหลักศรัทธา
และหลักปฎิบัติของอิสลาม  เช่น  คำปฎิญาณทั้งสอง  การเป็นฟัรฎูของการละหมาด 
การจ่ายซากาตการถือศิลอด  การประกอบพิธีฮัจญ์
........6 . มีเจตนาละศิลอด  แม้ว่ายังมิได้รับประทานอาหารก็ตาม
.......7 . การสิ้นสติเนื่องจากเป็นลมหรือมึนเมา
.......8 . การสูบบุหรี่  การนัดยา
... ข . สิ่งที่ทำให้เสียศิลอด  โดยต้องถือศิลอดในขณะเสียค่าปรับ(กั้ฟฟาเราะฮฺ)
ผู้ใดที่ได้ร่วมเสพย์สุขทางเพศขณะถือศิลอด  การถือศิลอดของเขาใช้ไม่ได้  และจำเป็น
ต้องถือศิลอดใช้และเสียค่าปรับด้วย  โดยการปล่อยทาสผู้ศรัทธา(ทาสมุมิน) 1 คน 
ถ้าหากว่าไม่สามารถทำได้  ก็ให้ถือศิลอด 2 เดือนติดต่อกัน  แต่ถ้าหากว่า  ขาดตอนไปแม้แต่
วันเดียวก็ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่  ถ้าหากว่า  เขาไม่สามารถถือศิลอดได้  ก็ให้เขาให้อาหาร
แก่คนยากจน60 คน
 
.........สิ่งที่อนุญาติให้ผู้ถือศิลอดปฎิบัติได้
1 . อาบน้ำ ดำน้ำ เอาน้ำบ้วนปาก
2 . หยอดตา  ถึงแม้ว่าจะมีความรู้สึกถึงรสยาในลำคอก็ตาม
3 . ฉีดยา  ไม่ว่าจะฉีดยาเข้าเส้นเลือดหรือกล้ามเนื้อก็ตาม เพื่อการรักษา
4 . กลืนน้ำลาย
5 . ชิมอาหาร  เมื่อรู้รสแล้วต้องบ้วนทิ้ง  ถ้าหากว่ากลืนลงคอก็ทำให้เสียศิลอด
6 . สูดดมของหอมและกลิ่นอาหาร
7 . ตื่นนอนในสภาพที่มีญุนุบ  แล้วเขาอาบน้ำฆุสลฺหลังจากหลังจากที่แสงอรุณขึ้นแล้ว
8 . ผู้ที่หมดเลือดเฮฎหรือนิฟาสในตอนกลางคืน  ก็อนุญาตให้นางรับประทานอาหารสะฮูร
และถือศิลอดได้  แล้วค่อยอาบน้ำฆุสลฺในตอนเช้า
9 . อนุญาตให้ผู้ถือศิลอดถอนฟัน  เอายาใส่แผล  หยอดยาที่หู
 
..........การถือศิลอดใช้
ผู้ที่ขาดการถือศิลอดในเดือนรอมฎอน  จำเป็นที่เขาจะต้องถือศิลอดใช้
และสมควรจะรีบใช้ศิลอด  เพราะหนี้ของอัลลอฮฺสมควรที่จะได้รับการชดใช้ก่อนอื่น
เนื่องจากช่วงชีวิตของมนุษย์ไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด  แต่ถ้าหากว่าล่าช้าในการถือศิลอดใช้
การถือศิลอดนั้นก็ใช้ได้  ดังมีรายงานจาก  นางอาอิชะฮฺว่า
' ' ฉันมีศิลอดในเดือนรอมฎอนค้างอยู่  แต่ฉันไม่สามารถถือศิลอดใช้ได้นอกจากใน
เดือนชะอฺบาน ' 'บันทึกโดย  นักรายงานหะดีษ
การถือศิลอดใช้นี้  จะถือติดต่อกันหรือไม่ติดต่อกันก็ได้  ถ้าหากว่า  ผู้ใดค้างการถือศิลอดใปจน
กระทั่งการถือศิลอดในปีต่อไปผ่านไปอีก(การถือศิลอดใช้ค้างปี)  ก็จำเป็นที่เขาต้องถือศิลอด
ใช้โดยไม่ต้องเสียฟิตยะฮฺแต่อย่างใด  แต่อิมามมาลิก  ชาฟิอียฺ  อะหมัด  อิสหาก  และนักวิชาการ
ในมัซฮับอบู หะนีฟะฮฺมีความเห็นว่า  ถ้าหากการค้างศิลอดนั้นเนื่องด้วยมีเหตุขัดข้องก็ไม่ต้อง
จ่ายฟิตยะฮฺ  พร้อมกับการถือศิลอดใช้  แต่ถ้าหากการปล่อยปละละเลยโดยไม่ถือศิลอดใช้ 
ก็จำเป็นจะต้องเสียฟิตยะฮฺพร้อมกับถือศิลอดใช้ด้วย
.........ผู้ที่ตายโดยค้างการถือศิลอด
บรรดานักวิชาการได้ลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ว่า  ผู้ใดที่ตายโดยที่เขาขาดละหมาด
ไม่จำเป็นที่วะลีจะต้องละหมาดใช้ให้เขา  ส่วนผู้ใดที่ขาดศิลอดโดยที่เขายังมิได้ถือศิลอด
ใช้แล้วเขาก็ตายไป  ในกรณีนี้  นักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกัน  นักวิชาการส่วนมาก
เช่น  อิมามอบูหะนีฟะฮฺอิมามาลิกและทัสนะที่แพร่หลายของอิมามชาฟิอียฺ
มีความเห็นว่า  ผู้เป็นวะลีไม่ต้องถือศิลอดแทนเขา  แต่ให้จ่ายอาหารแก่คนยากจน
วันละ1 หมุด  ทุกวันที่ขาดศิลอด
ทัศนะที่ยึดถือของนักวิชาการในมัซฮับชาฟิอียฺมีความเห็นว่า  ชอบให้ผู้เป็นวะลีถืลศิลอด
แทนผู้ตาย  และทำให้ผู้ตายพ้นภาระด้วย  และไม่ต้องจ่ายอาหารทดแทนอีก
อิมามอะหมัด  บุคอรียฺและมุสลิม  ได้รายงานจากนางอาอิชะฮฺ ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ
อะลัยฮิวะซัลลัม  ว่า
' ' ผู้ใดที่ตายลง  และเขายังมีการถือศิลอดค้างอยู่  ก็ให้วะลีของเขาถือศิลอดแทนเขา ' '
นักวิชาการกล่าวว่า  การถือศิลอดในที่นี้หมายถึงการถือศิลอดบนบาน  ไม่ใช่การขาด
ศิลอดเดือนรอมฎอน  และการถือศิลอดแทนนี้ไม่ใช่วาญิบ
 
............ผู้ที่ได้รับผ่อนผันไม่ต้องถือศิลอด
ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันไม่ต้องถือศิลอดได้แก่
. 1 . เด็กที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ  แต่สมควรฝึกหัดให้เด็กถือศิลอดเช่นเดียวกับ
การฝึกหัดให้เขาละหมาด
. 2 . ผู้ที่ชราภาพที่ไม่มีความสามารถในการถือศิลอด  ในกรณีนี้  อนุญาตให้เขา
ไม่ต้องถือศิลอด  แต่จำเป็นต้องจ่ายอาหารให้แก่คนยากจน 1 คนทุกวันในอัตรา
1 มุดหรือประมาณ 6 ขีด  หรือจะให้มากกว่านั้น  เช่น  ครึ่งซออฺ  หรือ 1 ซออฺ
ก็เป็นการดีแต่ถ้าผู้ชราจะถือศิลอดการถือศิลอดของเขาก็ใช้ได้
. 3 . ผู้วิกลจริด  ศาสนาอนุญาตให้เขาไม่ต้องถือศิลอด  ถ้าหากว่า เขาถือศิลอด
การถือศิลอดของเขาก็ใช้ไม่ได้  เนื่องจากเขาขาดสติสัมปชัญญะ  และไม่จำเป็นจะ
ต้องจ่ายอาหารทดแทนการถือศิลอดของเขา  ถ้าหากว่า  เขาหายจากวิกลจริด 
โดยยังคงอยู่ในเดือนรอมฎอนก็ให้เขาถือศิลอดในวันที่เหลืออยู่  และไม่ต้องถือ
ศิลอดใช้ในวันที่เขาอยู่ในสภาพวิกลจริด
. 4 . ผู้เดินทางโดยชอบด้วยบัญญัติศาสนา  ก็ได้รับการผ่อนผันไม่ต้องถือศิลอดในเดือน
รอมฎอน  แต่ต้องถือศิลอดใช้  ถ้าหากว่า  การเดินทางของเขาไม่ชอบด้วยบัญญัติศาสนา
  ก็ไม่อนุญาตให้เขาละศิลอด  ถ้าหากว่า  ผู้เดินทางถือศิลอด  การถือศิลอดของเขาก็ใช้ได้
สำหรับระยะทางที่ได้รับการผ่อนผันไม่ต้องถือศิลอดนี้  นักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกัน
บางท่านกล่าวว่า  ระยะการเดินทางที่อนุญาตให้ละศิลอดจะต้องไม่น้อยกว่าระยะทางที่
อนุญาติให้ละหมาดย่อคือ 85 กิโลเมตร.
. 5 . ผู้ที่เป็นทหารประจำการในสนามรบหรือชายแดน  อนุญาตให้เขาไม่ต้องถือศิลอด
แต่จำเป็นต้องถือศิลอดใช้  เมื่อออกจากประจำการแล้ว
 

 
 
preecha p.r.ma@hotmail.com [124.122.247.xxx] เมื่อ 17/06/2013 13:14
ท่านคือผู้ที่อัลลอฮฺทรงคัดเลือก
7
อ้างอิง
. 6 . ผู้ที่เป็นกรรมกรทำงานหนัก  เช่น  ผู้ที่อยู่ในเหมืองถ่านหิน  อยู่กับความร้อน
ผู้ทำงานหนักกลางแจ้ง  เพื่อหารายได้มาเลี้ยงครอบครัวและตัวเอง  โดยไม่มีงาน
ใดที่จะทำนอกจากงานหนักนี้เท่านั้น  ในกรณีนี้  อนุญาติให้เขาไม่ต้องถือศิลอด
แต่ต้องถือศิลอดใช้เมื่อมีโอกาส
. 7 . ผู้ที่มีเลือดเฮฎหรือนิฟาส  ได้รับอนุญาตให้ไม่ต้องถือศิลอด  ถ้าหากว่านาง
ถือศิลอด  การถือศิลอดของนางก็ใช้ไม่ได้  และจำเป็นที่นางจะต้องถือศิลอดใช้
สำหรับสตรีที่มีเลือดเสีย  คือ เลือดที่ออกมาเกินกว่าระยะเวลาปรกติ  ถือว่านาง
มีความสะอาดและอยู่ในภาวะปรกติ  นางจะต้องละหมาดจะต้องถือศิลอด
จะละเว้นการละหมาดและการถือศิลอดไม่ได้
. 8 . ผู้ที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร  ถ้าหากว่า  นางกลัวว่าการถือศิลอดจะเป็นอันตราย
แก่ตัวของนางหรือแก่ทารกของนาง  ก็อนุญาตให้นางละเว้นไม่ต้องถือศิลอด
แต่นักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันว่า  นางจะต้องถือศิลอดใช้และจะต้องจ่าย
ฟิตยะฮฺด้วย  หรือจะถือศิลอดใช้เพียงอย่างเดียวหรือจ่ายฟิตยะฮฺเพียงอย่างเดียว
นักวิชาการส่วนมากเช่น  อิมามชาฟิอียฺ  และอิมามอะหมัด อิบนิฮัมบัลมีความเห็นว่า
ผู้ที่ตั้งครรภ์และผู้ให้นมบุตร  ถ้าหากนางกลัวว่า  การถือศิลอดจะเกิดอันตรายแก่ตัว
ของนาง  หรือแก่ตัวของนางและบุตรของนาง  ก็อนุญาตให้นางละศิลอดและจะต้อง
ถือศิลอดใช้  แต่ถ้าหากนางกลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่บุตรของนางเท่านั้น  ก็อนุญาต
ให้นางละศิลอด  แต่จะต้องถือศิลอดใช้และจ่านฟิตยะฮฺด้วย  อิมามอบูหะนีฟะฮฺ
มีความเห็นว่า  จำเป็นที่นางจะต้องถือศิลอดใช้เท่านั้น  ไม่ต้องจ่ายฟิตยะฮฺ
ท่านอิบนิอับบาสและท่านอิบนิอุมัร รอฎิยัลลอฮุอันฮุมา  มีความเห็นว่า  ผู้ที่ตั้งครรภ์
หรือผู้ที่ให้นมบุตร  ถ้าหากเกรงว่าจะเกิดอันตรายแก่ตัวนางหรือแก่บุตรของนาง
ก็อนุญาตให้นางจ่ายฟิตยะฮฺ  ไม่ต้องถือศิลอดใช้  ท่านอิสหาก อิบนิรอฮะวะยฮฺ
กล่าวว่า  ถ้าหากว่า  นางปรารถนาจะถือศิลอดใช้ก็ไม่ต้องจ่ายฟิตยะฮฺ
. 9 . ผู้ที่เข้ารับอิสลามใหม่ในเดือนรอมฎอน  จำเป็นที่เขาจะต้องถือศิลอดในช่วง
วันที่เหลือในเดือนรอมฎอนและไม่ต้องถือศิลอดใช้ในวันที่ผ่านมา
 
..............ฟิตยะฮฺ
ฟิตยะฮฺคือ  อาหารที่ผู้ได้รับการผ่อนผันไม่ต้องถือศิลอดจะต้องจ่ายให้แก่คนขัดสน(มิสกีน)
ซึ่งซุนนะฮฺของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  มิได้กำหนดอัตราที่แน่นอนเอาไว้
นักวิชาการบางท่านมีความเห็นว่า  ฟิตยะฮฺที่ต้องจ่ายจะต้องมีจำนวน 1 ซออฺ  ต่อการ
ไม่ถือศิลอด 1 วัน  บางท่านกล่าวว่าให้จ่ายอาหารเพียงครึ่งซออฺต่อ 1 วัน  บางท่านกล่าวว่า
จ่าย 1 มุดต่อ 1 วัน  บางท่านก็มีความเห็นว่า  ฟิตยะฮฺหมายถึงอาหารที่จ่ายให้แก่คนขัดสน
1 คน รับประทาน 1 วัน  โดยเพียงพอที่จะเป็นอาหารสะฮู้รและอาหารละศิลอดของเขา
สำหรับอัตรา 1 ซออฺเท่ากับ 4 มุด ครึ่งซออฺจึงเท่ากับ 2 มุด  นักวิชาการยังมีความเห็นแตกต่าง
กันเกี่ยวกับปริมาณอาหาร 1 ซออฺ  เมื่อเปรียบเทียบเป็นน้ำหนัก  เพราะซออฺเป็นเครื่องตวง
ชนิดหนึ่งซึ่งบ้านเราเรียกว่า 1 กันตัง  เชคมุฮัมมัด อิบนิซอและฮฺ อิบนิอุซัยมีน  มีความเห็นว่า
1 ซออฺเท่ากับ2.480 กิโลกรัม  เชคมุฮัมมัด มะฮฺมูด อัซเซาว้าฟ  มีความเห็นว่า 1 ซออฺเท่ากับ
2.500กิโลกรัมและนักวิชาการมีความเห็นว่า  ไม่อนุญาตให้เอาการตวงมาเปรียบเทียบกับ
น้ำหนักเพราะอาหารบางอย่างอาจจะมีปริมาณมากแต่น้ำหนักน้อย  หรือปริมาณน้อยแต่น้ำหนัก
มากก็ได้
 
...........วันที่ห้ามถือศิลอด
วันที่ห้ามถือศิลอดคือ
. 1 . ห้ามเจาะจงถือศิลอดในวันเสาร์
. 2 . ห้ามถือศิลอดในสิบวันแรกของเดือนฮัจญ์  จากนาง อาอิชะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮา
กล่าวว่า' ' ฉันไม่เคยเห็นท่านรอซูลถือศิลอดในสิบวันแรก(ในเดือนซุลฮิจญะฮฺ)เลย '
บันทึกโดย มุสลิม
. 3 . ห้ามถือศิลอดในวันอีดทั้งสอง
. 4 . ห้ามถือศิลอดในวันตัชรีก คือ วันที่11-12-13 เดือนซุลฮิจญะฮฺ  นอกจากผู้ที่ทำฮัจญ์
แบบตะมัตตัวะอฺ  ที่ไม่สามารถเชือดสัตว์ฮัดยฺได้
. 5 . ห้ามเจาะจงถือศิลอดเฉพาะวันศุกร์  มีรายงานจาก  ท่านอนัส รอฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า
' ' ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ห้ามถือศิลอดหกวันนี้ในรอบปี  คือ วันตัชรีก
3 วันวันอีดฟิฎร  วันอีดอัฎฮา  และวันศุกร์  เฉพาะอย่างยิ่งการเจาะจงถือศิลอดในวันศุกร์ ' '
. 6 . ห้ามถือศิลอดก่อนรอมฎอนหนึ่งวัน หรือสองวัน
. 7 . การถือศิลอดตลอดปี  ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า
' ' ไม่มีการถือศิลอดสำหรับผู้ถือศิลอดตลอดไป ' ' บันทึกโดย อะหมัด บุคอรียฺ และมุสลิม
. 8 . ห้ามถือศิลอดในวันสงสัย  คือ สงสัยว่าจะเป็นวันที่ 1 ของเดือนรอมฎอนหรือไม่?
. 9 . ห้ามถือศิลอดโดยไม่ยอมแก้ศิลอดหรือไม่ยอมรับประทานอาหารสะฮู้ร
. 10 . ห้ามสตรีถือศิลอดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีนาง  นักวิชาการมีความเห็นว่า
หมายถึงการถือศิลอดซุนนะฮฺ  ถ้าเป็นการถือศิลอดฟัรดู หรือการถือศิลอดใช้
ไม่จำเป็นที่นางต้องขออนุญาตจากสามี
 
............การถือศิลอดซุนนะฮฺ
การถือศิลอดซุนนะฮฺได้แก่
. 1 . การถือศิลอด 6 วัน  ในเดือนเซาวาล  ท่านอบูยยุบ อัล อันซอรียฺ ว่า
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า
' ' ผู้ใดถือศิลอดในเดือนรอมฎอน  แล้วติดตามด้วยการถือศิลอด 6 วันในเดือนเซาวาล
เขาเท่ากับได้ถือศิลอดตลอดปี ' ' บันทึกโดย มุสลิม  อบูดาวู๊ด
การถือศิลอด 6 วันในเดือนเซาวาล  จะถือติดต่อกันกันหลังจากวันอีดฟิฎรหรือจะถือไม่
ติดต่อกันก็ได้  แต่ต้องอยู่ในเดือนเซาวาล
. 2 . การถือศิลอดในวันอะรอฟะฮฺ  สำหรับผู้ที่มิได้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์
. 3 . การถือศิลอดในวันที่ 9 และ 10 มุฮัรรอม(วันอาซูรออฺ)
. 4 . การถือศิลอดหลายวันในเดือนมุฮัรรอมและเดือนชะอฺบาน  แต่ไม่ใช่ถือศิลอด
ทั้งเดือน
. 5 . การถือศิลอดในวันจันทร์และวันพฎหัสบดี  ท่านอบู ฮุรอยเราะฮฺ กล่าวว่า
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า
' ' ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  สหายของฉันได้สั่งเสียฉันไว้ 3 ประการด้วย
กันคือให้ถิอศิลอด 3 วันทุกเดือน(คือวันที่ 13 14 15 ของเดือนอาหรับ)  ให้ละหมาดฎุฮา
2 ร๊อกอะฮฺและให้ละหมาดวิตรก่อนนอน  ' ' บันทึกโดย อัล บุคอรียฺและมุสลิม
. 7 . การถือศิลอดวันเว้นวัน
. 8 . การถือศิลอดเพื่อข่มตนจากการละเมิดทางเพศสำหรับผู้ที่ยังไม่แต่งงาน
 
...............การถือศิลอดใช้กับการถือศิลอดซุนนะฮฺ
บางคนเข้าใจว่า  การถือศิลอดใช้กับการถือศิลอดซุนนะฮฺสามารถรวมกันได้
จึงเนียตถือศิลอด 2 อย่างในคราวเดียวกัน  เช่นการ เนียตถือศิลอดใช้ร่วมกับการถือศิลอด
6วันในเดือนเชาวาล  ความคิดนี้ไม่ถูกต้องดังเหตุผลต่อไปนี้
. 1  การถือศิลอดเป็นฟัรฎู  การถือศิลอด 6 วันในเดือนเชาวาลเป็นซุนนะฮฺ
. 2 ไม่เคยปรากฎว่า  นักวิชาการท่านใดให้เนียตปฎิบัติอิบาดะฮฺเดียว  โดยมีเป้าหมาย 2 อย่าง
เช่น การถือศิลอดใช้พร้อมกับการถือศิลอดเอนเชาวาล
. 3 ถ้าหากว่า  การปฎิบัติอิบาดะฮฺเดียวโดยเนียต 2 อย่างได้  ก็ย่อมเนียตละหมาดตะฮียะตุล
มัสญิดพร้อมกับเนียตละหมาดซุบหฺก็ย่อมได้  หรือเนียตทำซอดะเกาะพร้อมกับเนียตจ่าย
ซากาตหรือให้ค่าจ้างทำงานพร้อมกับเนียตจ่ายซากาตไปพร้อมกันก็ย่อมถูกต้อง  หรือนำเงิน
เอาเงินออกเบี้ยทรัพย์ที่ฉ้อโกง  กินสินบน  ลักขโมยมาแจกจ่ายโดยเนียตทำซอดะเกาะฮฺหรือทำ
วากัฟก็ย่อมชอบด้วยศาสนาเช่นกัน  ประเด็นเหล่านี้ย่อมไม่ถูกต้องอย่างแน่นอน
 
 
 
preecha p.r.ma@hotmail.com [124.122.247.xxx] เมื่อ 17/06/2013 13:19
ท่านคือผู้ที่อัลลอฮฺทรงคัดเลือก
8
อ้างอิง
.............ละหมาดตะรอเวียฮฺ
ส่วนหนึ่งจากความดีที่ควรปฎิบัติในเดือนรอมฎอนคือ  การละหมาดตะรอเวียฮฺ
ท่านอับดุลเราะฮฺมาน อิบนิเอาฟฺ  กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
กล่าวว่า  ' ' แท้จริง  อัลลอฮฺทรงบัญญัติการถือศิลอดในเดือนรอมฎอน
และฉันได้วางแบบฉบับการละหมาดกิยามในค่ำตืนของเดือนรอมฏอน
โดยมีศรัทธาและหวังในการตอบแทน  เขาจะออกมา  โดยได้รับการปลดเปลื้อง
ความผิดของเขา(โดยมีความบริสุทธิ์)  เหมือนกับวันที่มารดาของเขาได้คลอดเขาออกมา ' '
บันทึกโดย อะหมัด และอันนะซาอียฺ
อิมามนะวะวียฺกล่าวว่า  บรรดานักวิชาการมีความเห็นตรงกันว่า  การละหมาดตะรอเวียฮฺ
เป็นสิ่งที่ชอบให้ปฎิบัติ  แต่บรรดานักวิชาการก็มีความเห็นแตกต่างกันว่า
การละหมาดตะรอเวียที่ดีที่สุด  จะละหมาดตามลำพังในบ้านของเขา  หรือว่า
จะละหมาดเป็นญะมาอะฮฺในมัสญิด  อิมามชาฟิอียฺและนักวิชาการส่วนมากในมัซฮับ
มาลิกีบางท่านมีความเห็นว่า  ที่ดีที่สุดคือ  ให้ละหมาดตะรอเวียฮฺเป็นญะมาอะฮฺในมัสญิด
เพราะท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้เคยละหมาดตะรอเวียในมัสญิด  และ
บรรดาซ่อหะบะฮฺก็ได้มาละหมาดเป็นญะมาอะฮฺพร้อมกับท่าน
อิมามมาลิก  อบู ยูซุบ  นักวิชาการในมัซฮับอิมามฃาฟิอียฺบางท่าน  และนักวิชาการท่านอื่นๆ
มีความเห็นว่า  ชอบให้ละหมาดตะรอเวียฮฺตามลำพังในบ้าน  โดยอ้างหลักฐานว่า
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า
' ' การละหมาที่ดีที่สุดคือ  การละหมาดของบุคคลภายในบ้านของเขา  นอกจากละหมาดฟัรฎู ' '
อิมามมุสลิมได้รายงานจากนางอาอิชะฮฺว่า
' ' ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้ออกมาในคืนหนึ่งท่ามกลางค่ำคืน  แล้วท่านก็
ละหมาดในมัสญิด  ประชาชนทั้งหลายก็ละหมาดร่วมกับท่าน  เมื่อถึงตอนเช้าประชาชนทั้งหลาย
ต่างพูดคุยกัน  แล้วท่านก็ออกมาละหมาดอีก  ประชาชนทั้งหลายก็ออกมาละหมาดร่วมกับท่าน
เมื่อถึงรุ่งเช้า  ประชาชนทั้งหลายได้พูดคุยกัน  ในคืนที่สามก็มีผู้มาร่วมชุมนุมในมัสญิดมากยิ่งขึ้น
ท่านรอซูลจึงออกมาเพื่อละหมาดประชาชนทั้งหลายก็ละหมาดพร้อมกับท่าน
เมื่อถึงคืนที่สี่  มัสญิดแน่นขนัดไม่อาจรับจำนวนผู้มาละหมาดได้  จนกระทั่งถึงเวลาซุบฮฺ
ท่านรอซูลจึงออกมาละหมาด  เมื่อเสร็จการละหมาด  ท่านได้หันหน้ามายังประชาชนทั้งหลาย
แล้วกล่าวคำปฎิญาณและกล่าวว่า  แท้จริงฉันรู้ถึงสภาพของพวกท่าน  แต่ทว่าฉันกลัวว่า
การละหมากกิยามในเดือนรอมฎอนจะถูกบังคับแก่พวกท่าน  แล้วพวกท่านก็ไม่สามารถปฎิบัติได้ ' '
สำหรับค่ำคืนทั้งสามที่ท่าน นบีออกมาละหมาดนี้  นักวิชาการมีความเห็นว่า
เป็นคืนที่ 23. 25 และ27  จะเป็นปีใดนั้นไม่ปรากฎชัดเจน  เมื่อท่านนบีมุฮัมมัดได้ถึงแก่กรรม
ประชาชนทั้งหลายต่างแยกกันละหมาดกิยามในเดือนรอมฎอน  สภาพเป็นเช่นนี้จนถึงสมัย
ของคอลีฟะฮฺอบูบักร  และในต้นสมัยของท่านคอลีฟะฮฺอุมัร อิบนุค้อฎฎอบ  ต่อมาท่าน
ค่อลีฟะฮฺอุมัร  ได้ให้พวกเขาละหมาดกิยามเป็นญะมาอะฮฺ  โดยให้ท่านอุบัย อิบนิ กะอบฺ
เป็นอิมามนำผู้ชายละหมาด  และตะมีม อัดดารียฺ  เป็นอิมามนำผู้หญิงละหมาด
ซึ่งบรรดาซอหะบะฮฺก็เห็นชอบด้วย  และพวกเขาละหมาดกิยาม 20 ร้อกอะฮฺ
บรรดานักบันทึกหะดีษได้รายงานจำนวนร็อกอะฮฺในการละหมาดกิยามของท่าน
นางอาอิชะฮฺกล่าวว่า
' ' ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ไม่เคยละหมาดเกินกว่า 11 ร้อกอะฮฺ
ไม่ว่าจะในเดือนรอมฎอนหรือนอกเดือนรอมฎอน ' ' ส่วนท่านอิบนุคุซัยมะฮฺ  และ
อิบนุฮิบบาน  ได้บันทึกไว้ในหนังสือของท่านทั้งสองจากท่านญาบิรว่า
' ' ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้ทำละหมาดกิยาม 8 ร้อกอะฮฺ แล้วละหมาดวิตร '
อัซซุรกอนียฺกล่าวว่า  ท่านอิบนุฮิบบานกล่าว  ' ละหมาดตะรอเวียฮฺในตอนแรกมี 11 ร้อกอะฮฺ
พวกเขาได้ยืนอ่านนานจึงเป็นภาระหนักสำหรับพวกเขา  พวกเขาจึงอ่านให้สั้นลงแล้วเพิ่ม
ร้อกอะฮฺเป็น 20 ร้อกอะฮฺ  นอกจากละหมาดวิตรอีก 3 ร้อกอะฮฺ  ต่อมาพวกเขาก็อ่านให้สั้นลงอีก
และได้เพิ่มร้อกอะฮฺของการละหมาดตะรอเวียเป็น  36 ร้อกอะฮฺ  นอกจากละหมาดวิตรอีก
3 ร้อกอะฮฺ 'การละหมาดวิตรให้ปฎิบัติ 3 ร้อกอะฮฺ  โดยปฎิบัติให้แตกต่างกับละหมาดมักริบ
อิมามชาฟิอียฺมีความเห็นว่า  อ่านดุอาอฺกุนูตในครึ่งหลังของเดือนรอมฎอน  เมื่อเสร็จสิ้นการ
ละหมาดให้กล่าวตัสเบี้ยฮฺว่า ' ซุบฮานะมาลิกิ้นกุดดู๊ด 3 ครั้ง
สมควรที่ผู้ละหมาตะรอเวียฮฺจะต้องมีสมาธิ  มีใจสงบนิ่งมุ่งสู่อัลลอฮฺ  มีความนอบน้อม
มีความตั้งใจในการอ่านอัล กุรอาน อ่านดุอาอฺ  ไม่อ่านอย่างรีบร้อน  เพราะเงื่อนไขที่ทำให้
การละหมาใช้ได้คือ  การปฎิบัติตามองค์ประกอบของการละหมาดอย่างครบถ้วนสมบูรณ์
มีความนอบน้อม  มีความสำรวมต่ออัลลอฮฺ
............การเอียะอฺติก้าฟ
การเอียะอฺติกาฟคือ  การพักอยู่ในมัสญิดชั่วเวลาหนึ่ง  โดยมีเจตนาเพื่อให้เป็นอิบาดะฮฺ
ต่ออัลลอฮฺ  การเอียะอฺติกาฟเป็นสิ่งที่ชอบให้ปฎิบัติ  เพื่อจะทำให้ผู้ปฎิบัติมีความใกล้ชิด
อัลลอฮฺ  เอียะอฺติกาฟมี 2 ประเภทคือ
1 .  .การเอียะอฺติกาฟที่เป็นวาญิบคือ  เอียะอฺติกาฟที่สืบเนื่องมาจากการบนบาน
2 . . เอียะอฺติกาฟที่เป็นซุนนะฮฺคือ  เอียะอฺติกาฟที่ชอบให้ปฎิบัติ  เอียะอฺติกาฟประเภทนี้ไม่มี
กำหนดเวลาที่แน่นอน  แต่สมควรปฎิบัติในเดือนรอมฎอน  เฉพาะอย่างยิ่งใน 10 คืนสุดท้าย
องค์ประกอบของการเอียะอฺติกาฟมี 2 ประการคือ
. 1 . การพักอยู่ในมัสญิด
. 2 . การมีเจตนาในการเอียะอฺติกาฟเพื่ออัลลอฮฺ
............เงื่อนไขของผู้เอียะอฺติกาฟ
ผู้ทำการเอียะอฺติกาฟจะต้องเป็นมุสลิม  บรรลุศาสนภาวะ  มีสติสัมปชัญญะ  มีความสะอาด
ปราศจากนะญีสและหะดัษ  และจะต้องอยู่ในมัสญิด  ผู้ทำเอียะอฺติกาฟจะถือศิลอดหรือไม่ก็ได้
แต่ถ้าหากว่า  เขาถือศิลอดก็เป็นการดี
ชอบให้ผู้เอียะอฺติกาฟกล่าวซิกรุลลอฮฺ  กล่าวตะฮฺลีล  กล่าวตะฮฺมีด  กล่าวตั๊กบีร  กล่าวขอ
อภัยโทษเตาบัตตัว  กล่าวซอละวาตนบี  ขอดุอาอฺ  อ่านอัล กุรอาน  ศึกษาวิชาความรู้  
ขณะเดียวกันก็ให้หลีกเลี่ยงการทำในสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องในการเอียะอฺติกาฟ  ไม่ว่าจะเป็นคำพูด
  หรือการปฎิบัติ  ไม่ควรจะนั่ง
สงบนิ่งหลับตา  ไม่อ่านอะไร  โดยเข้าใจว่า  การนั่งสงบนิ่งนั้นเป็นการใกล้ชิดอัลลอฮฺ
อนุญาตให้ผู้ทำการเอียะอฺติกาฟออกจากมัสญิดได้  เพื่อทำธุระส่วนตัว  หรือเพื่อไป
รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม  ในเมื่อไม่มีผู้ใดนำอาหารหรือเครื่องดื่มมาส่งให้
สมควรที่ผู้ทำการเอียะอฺติกาฟจะต้องแต่งการให้เรียบร้อย  สะอาดหมดจดปะพรมน้ำหอม
........สิ่งที่ทำให้เสียเอียะอฺติกาฟคือ
เจตนาออกไปจากมัสญิดโดยไม่มีความจำเป็น  หรือสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม
หรือเสียสติเนื่องจากวิกลจริด  หรือเป็นลมหรือมึนเมา  หรือมีรอบเดือน  หรือมีเลือด
หลังคลอดบุตรหรือหาความสุขทางเพศ  หรือมีการหลั่งของอสุจิ
ผู้ใดที่บนบานว่า  จะเอียะอฺติกาฟในมัสญิดแห่งหนึ่ง  ก็อนุญาตให้เขาเอียะอฺติกาฟในมัสญิดอื่นได้
ในเมื่อเกิดความจำเป็น  นอกจากเขาจะบนบานว่า  จะเอียะอฺติกาฟในมัสญิดหะรอมหรือมัสญิดนบี
หรือมัสญิด อัล อักซอ  ก็จำเป็นที่เขาจะต้องเนทางไปเอยะอฺติกาฟในมัสญิดดังกล่าว  หรือ
เอียะอฺติกาฟในมัสญิดที่มีความประเสริฐกว่า  เช่น  ผู้ที่บนบานว่าจะเอียะอฺติกาฟในมัสญิดนบี 
ก็อนุญาตให้เขาเอียะอฺติกาฟในมัสญิดหะรอมแทนได้  หรือผู้ใดที่บนบานว่าจะเอียะอฺติกาฟใน
มัสญิดอักซอ
ก็อนุญาตให้เขาเอียะอฺติกาฟในมัสญิดนบี  หรือมัสญิดหะรอมแทนได้
 
...........อุมเราะฮฺในเดือนรอมฎอน
สิ่งที่ควรปฎิบัติในเดือนรอมฎอนอีกประการหนึ่งคือ  การเดินทางไปประกอบพิธีอุมเราะฮฺ
เพราะภาคผลของการทำอุมเราะฮฺในเดือนรอมฎอน  มีความยิ่งใหญ่มหาศาล
ท่านอิบนิ อับบาส  กล่าวว่า  ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า
' ' อุมเราะฮฺในเดือนรอมฎอนมีภาคผลเท่ากับการทำฮัจญ์ ' ' บันทึกโดย อะหมัด และอิบนิมาญะฮฺ
เท่ากับการทำฮัจญ์ก็มิได้หมายความว่าการทำอุมเราะฮฺในเดือนรอมฎอนจะทดแทนการทำ
ฮัจญ์ได้ผู้ที่ทำอุมเราะฮฺแต่เขายังไม่ได้ทำฮัจญ์เขาก็ยังไม่พ้นฟัรฎู  ของการทำฮัจญ์
เขาจำเป็นจะต้องเดินทางไปทำฮัจญ์อีก
.............
 

 
 
preecha p.r.ma@hotmail.com [124.122.247.xxx] เมื่อ 17/06/2013 13:23
ท่านคือผู้ที่อัลลอฮฺทรงคัดเลือก