การให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ |
|
อ้างอิง
อ่าน 973 ครั้ง / ตอบ 1 ครั้ง
|
|
' ' เตาหี๊ด ' ' '
(การให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ)
เตาหี๊ด ในด้านภาษานั้นเป็นคำที่แยกมาจาก วะห์ด่ะ ยุวะห์หิดุ่ แปลว่า ทำให้เป็นหนึ่งเดียว
และในด้านบัญญัติ(ชัรอ์)นั้นคือ การให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา
ในสิ่งที่เป็นของพระองค์โดยเฉพาะ จากการเป็นพระผู้เป็นเจ้า การเคารพ ภักดี พระนาม
และลักษณะต่างๆของพระองค์
เตาหี๊ดแบ่งออกเป็นสามชนิด
1 . เตาหี๊ดว่าด้วยเรื่องของการเป็นพระผู้เป็นเจ้า (รู่บูบียะฮฺ)
2 . เตาหี๊ดว่าด้วยเรื่องของการเคารพภักดี (อุลูฮียะฮฺ)
3 . เตาหี๊ดว่าด้วยเรื่องของพระนามและลักษณะต่างๆของพระองค์
เตาหี๊ดรู่บูบียะฮฺนั้นคือ การให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ อัซซะวะญัลลฺ ในเรื่องของการสร้าง
การครอบครอง และการบริหาร
การให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ ในเรื่องของการสร้างนั้น ก็คือ การที่มนุษย์เชื่อมั่นว่าไม่มี
ผู้สร้างใดๆนอกจากอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น พระองค์ตะอาลาได้ตรัสไว้ว่า
' ' จงรู้ไว้เถิดว่า การสร้างและการบัญชานั้น เป็นของพระองค์ ' ' (อัลอะอฺร้อฟ ที่54)
' ' มีผู้สร้างนอกเหนือจากอัลลฮฺ ที่พระองค์ประทานปัจจัยยังชีพให้แก่พวกเจ้า จากฟากฟ้า
และแผ่นดินอีกหรือ ' ' (ฟาฎิร ที่3)
' ' ทรงจำเริญยิ่ง อัลลอฮฺ ผู้ทรงสร้างที่ดีที่สุด ' ' (อัลมุอฺมินูน ที่14)
การให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ ในเรื่องของการครอบครองนั้นคือ การที่เราเชื่อมั่นว่าไม่มีใคร
ครอบครองบวงบ่าวได้ นอกจากผู้ทรงสร้างพวกเขามาเท่านั้น เหมือนกับที่พระองค์ ตะอาลา
ได้ตรัสไว้ว่า
' ' และการครอบครองชั้นฟ้าต่างๆ และแผ่นดินนั้น เป็นของอัลลอฮฺ ' ' (อาลาอิมรอน ที่189)
' ' จงกล่าวเถิดว่าใครที่อำนาจยิ่งใหญ่ของทุกสิ่งอย่างในมือของเขา ' ' (อัลมุอฺมินูน ที่88)
และการให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ ในเรื่องของการบริหารนั้นคือ การที่มนุษย์เชื่อมั่นว่า
ไม่มีผู้บริหารใดๆ นอกจากอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น และการให้เอกภาพในชนิดนี้พวกผู้ตั้ง
ภาคีที่ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ถูกส่งมายังพวกเขานั้น พวกเขามิได้คัดค้าน
แต่ประการใด หากแต่พวกเขายอมรับด้วยดี
พระองค์ตะอาลาได้ตรัสว่า
' ' และหากเจ้าได้ถามพวกเขาว่า ใครสร้างชั้นฟ้าต่างๆและพื้นแผ่นดิน พวกเขาก็
จะกล่าวว่า ผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงรู้ยิ่ง ' ' (อัซซุครุฟ ที่9)
เตาหี๊ดอุลูฮียะฮฺนั้น คือการให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ อัซซะวะญัล ในเรื่องของการเคารพภักดี
ผู้ที่สมควรได้รับการเคารพภักดีนั้นคือ อัลลอฮฺตะอาลา พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า
' ' ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า พระองค์นั้นคือ ความจริงและว่าสิ่งที่พวกเขาวิงวอนนอกเหนือจาก
พระองค์นั้นคือ สิ่งที่เป็นเท็จ ' ' (ลุกมาน ที่30)
' ' และเจ้าจงอย่าให้มีขึ้นกับอัลลอฮฺซึ่ง พระเจ้าองค์อื่น แล้วเจ้าก็จะนั่งอย่างผู้ถูกตำหนิ
ผู้ถูกทอดทิ้ง ' ' (อัลอิสร้ออฺ ที่22)
' ' การสรรเสริญนั้น เป็นของอัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้าแห่งสากลโลก ' ' (อัลฟาติฮะฮฺ ที่2)
' ' โอ้ ผู้คนทั้งหลาย พวกเจ้าจงเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าของพวกเจ้า ที่พระองค์ได้
ทรงสร้างพวกเจ้า พวกผู้ที่มาก่อนหน้าพวกเจ้าขึ้นมา (อัลบะเกาะเราะฮฺ ที่21)
การให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ ในเรื่องพระนามและลักษณะต่างๆของพระองค์ ซึ่งมันก็ประมวล
ไว้สองอย่างด้วยกัน คือ
(1) การยอมรับคือ ยอมรับว่า อัลลอฮฺอัซซะวะญัลลฺนั้น มีพระนาม และลักษณะต่างๆของ
พระองค์ทั้งหมด
(2) การปฎิเสธความเหมือน คือว่า เราจะไม่ทำให้มีสิ่งเสมอเหมือนเกิดขึ้นกับพระองค์ ใน
พระนามและลักษณะต่างๆของพระองค์ เหมือนกับที่พระองค์ตะอาลาได้ตรัสไว้ว่า
' ' ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์นั้น คือ ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็นอยู่ตลอด
' ' (อัชชูรอ ที่11)
' ' ผู้ทรงกรุณาปราณี สถิตอยู่บนบัลลังก์ ' ' (ฎอฮา ที่5)
' ' และฉันไม่ได้สร้างญิณ และมนุษย์ขึ้นมา นอกจากให้พวกเขาเคารพภักดีต่อฉันเท่านั้น
' ' (อัซซาริย้าด ที่56)
' ' และแน่นอนยิ่งเรา(อัลลอฮฺ) ได้ส่งมาในทุกประชาชาติซึ่งทูต(รอซูล) ท่านหนึ่งโดยมีการ
สั่งใช้ว่า พวกเจ้าจงเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ และจงออกห่างมารร้าย ' ' (อันนะหล์ ที่36)
' ' และพระผู้เป็นเจ้าของเจ้าทรงใช้ไม่ให้พวกเจ้าเคารพภักดี นอกจากเฉพาะพระองค์เท่านั้น
และปฎิบัติต่อ
พ่อแม่ หากคนหนึ่งคนใดจากเขาทั้งสองได้เข้าสู่วัยชรา หรือทั้งสองคนเลย ในขณะที่อยู่กับเจ้า
เจ้าก็อย่าได้กล่าวแก่เขาทั้งสองด้วยคำว่า (อุ๊ฟ) อย่าตะคอกเขาทั้งสอง และจงกล่าวแก่เขา
ทั้งสองด้วยคำกล่าวที่ดีจงลดปีกแห่งความนอบน้อม จากความเมตตาแก่เขาทั้งสอง และจง
กล่าวว่า โอ้ พระผู้เป็นเจ้าของฉัน
ขอพระองค์ได้ทรงเมตตาเขาทั้งสองเหมือนกับที่เขาทั้งสองได้เลี้ยงดูฉันมา ในขณะที่ยังเล็กอยู่
' ' (อัลอิสรออฺ ที่23ถึง24)
' และพวกเจ้าจงเคารพภักดีอัลลอฮฺ และอย่าได้ตั้งภาคีต่อพระองค์แต่ประการใด
' ' (อันนิซาอฺ ที่36)
' ' จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า พวกเจ้าจงมาซิ ฉันจะอ่านสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าของพวกเจ้าได้
ทรงห้ามพวกเจ้าไว้ให้ฟังคือ ไม่ให้พวกเจ้าตั้งภาคีต่อพระองค์แต่อย่างใด ให้พวกเจ้าทำ
ความดีต่อพ่อแม่ทั้งสอง
ไม่ให้พวกเจ้าฆ่าลูกของพวกเจ้า อันเนื่องมาจากความกลัวความยากจน เรา(อัลลอฮฺ)
เป็นผู้ให้ปัจจัยยังชีพ(ริชก์)แก่พวกเจ้า ไม่ให้พวกเจ้าเข้าใกล้สิ่งชั่วช้าสามานย์ต่างๆ
ทั้งที่เห็นได้ และเห็นไม่ได้
ไม่ให้พวกเจ้าฆ่าชีวิตหนึ่งชีวิตใด ที่อัลลอฮฺทรงห้ามไว้ นอกจากด้วยความชอบธรรมเท่านั้น
ที่ได้กล่าวมานี้ อัลลอฮฺได้สั่งสำทับพวกเจ้าไว้ หวังว่าพวกเจ้าจะใช้สติปัญญานึกคิด
และไม่ให้พวกเจ้าเข้าใกล้ทรัพย์สินของเด็กกำพร้า นอกจากด้วยหนทางที่ดีที่สุดเท่านั้น
จนกว่าเขาจะเติบใหญ่เต็มที่เสียก่อน
พวกเจ้าจงตวงวัดให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ด้วยความเที่ยงตรง เรา(อัลลอฮฺ)ไม่ได้บังคับชีวิต
หนึ่งชีวิตใดนอกจากตามความสามารถของชีวิตนั้นเท่านั้น เมื่อพวกเจ้าพูดพวกเจ้าก็จงให้มี
ความยุติธรรมถึงแม้จะเป็นญาติพี่น้องที่ใกล้ชิดก็ตาม และต่อสัญญาอัลลอฮฺ พวกเจ้า
จงประพฤติปฎิบัติให้ครบถ้วน
ที่ได้กล่าวมานี้ อัลลอฮฺได้ทรงสั่งสำทับพวกเจ้าไว้ หวังว่าพวกเจ้าจะรำลึกได้และอันนี้นั้น
มันก็เป็นหนทาง
ของฉันที่เที่ยงตรง ดังนั้นพวกเจ้าจงดำเนินตามมัน และอย่าได้เดินตามหนทางต่างๆแล้ว
มันจะพาให้พวกเจ้าแตกแยกออกไปจากหนทางของพระองค์ ที่ได้กล่าวมานี้ อัลลอฮฺได้
ทรงสั่งสำทับพวกเจ้าไว้หวังว่าพวกเจ้าจะยำเกรง ' ' (อัลอันอาม ที่151ถึง153)
อิบนุ มัสอู๊ด ได้กล่าวไว้ว่า
' ผู้ใดต้องการที่จะมองดูคำสั่งเสียของ มุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่บนนั้นมี
รอยประทับของท่านอยู่ ก็ให้เขาได้อ่านคำตรัสของพระองค์ที่ว่า (จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)
ว่า พวกเจ้าจงมาซิ ฉันจะอ่าน
สิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าของพวกเจ้าได้ทรงห้ามพวกเจ้าให้ฟัง คือไม่ให้พวกเจ้าตั้งภาคีต่อ
พระองค์แต่อย่างใด)ไปถึงคำตรัสของพระองค์ที่ว่า ' และอันนั้น มันเป็นหนทางของฉัน
ที่เที่ยงตรง' (อัลอันอาม ที่151ถึง153)
มีรายงานจากมุอ้าซ อิบนุ ญะลัลลฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า
' ฉันเคยซ้อนท่าน นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บนหลังลาตัวหนึ่ง แล้วท่านได้
กล่าวแก่ฉันว่าโอ้ มุอ้าซ ท่านทราบไหมว่า สิทธิของอัลลอฮฺที่มีต่อบรรดาบ่าว คืออะไร
และสิทธิของบ่าวที่มีต่ออัลลอฮฺ
คืออะไร ฉันกล่าวว่าอัลลอฮฺ และร่อซูลของพระองค์รู้ดีที่สุด ท่านกล่าวว่า
สิทธิของอัลลอฮฺที่มีต่อบรรดา
บ่าวนั้น คือ พวกเขาจะต้องเคารพภักดีต่อพระองค์ และไม่ตั้งภาคีต่อพระองค์แต่
ประการใด และสิทธิของบรรดาบ่าวที่มีต่ออัลลอฮฺนั้น คือ พระองค์จักต้องไม่ลงโทษผู้
ที่ไม่ได้ตั้งภาคีต่อพระองค์แต่อย่างใด
ฉันกล่าวว่า โอ้ ร่อซูลของอัลลอฮฺ แล้วฉันจะไปบอกข่าวดีแก่พวกเขาไม่ดีหรือ
ท่านกล่าวว่าท่านอย่าไป
บอกเป็นข่าวดีแก่พวกเขา เดี๋ยวพวกเขาจะอาศัยสิ่งนั้นเท่านั้น '
(บันทึกโดย บุคอรีย์และมุสลิม)ในบทนี้มีประเด็นสำคัญต่างๆมากมายหลายประการด้วยกัน
ประการที่หนึ่ง' ข้อคิดในการสร้างมนุษย์ และญินขึ้นมา
'ประการที่สอง' ว่า การเคารพภักดี(อิบาดะฮฺ)นั้น คือ การให้เอกภาพ(เตาหี๊ด)เพราะว่า
การทะเลาะกัน การมีปัญหากัน มันจะอยู่ในเรื่องนี้
'ประการที่สาม' ว่า ผู้ใดที่ไม่ได้นำมาซึ่งการให้เอกภาพ ก็เท่ากับว่า เขาไม่ได้เคารพ
ภักดีต่ออัลลอฮฺพระองค์อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า
' ' และพวกเจ้าไม่ได้เคารพภักดีต่อสิ่งที่ฉันเคารพภักดี ' ' (อัลกาฟิรูน ที่3)
'ประการที่สี่' ข้อคิดในการส่งร่อซูลมา
'ประการที่ห้า' ว่า การส่งร่อซูลลงมานั้น มีมายังทุกประชาชาติ
'ประการที่หก' ว่า ศาสนาของบรรดา นบีนั้น เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
'ประการที่เจ็ด' ปัญหาใหญ่นั้น คือว่า การเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺนั้น จะเกิดขึ้นไม่ได้
นอกจากด้วยการปฎิเสธต่อทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ถูกเคารพภักดี นอกเหนือจากอัลลอฮฺเท่านั้น
พระองค์อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า
' ' ดังนั้น ผู้ใดปฎิเสธต่อมารร้าย และศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ก็เท่ากับว่า เขาได้จับมั่นอยู่กับ
ห่วงที่เหนียวแน่นที่สุด ' ' (อัลบะเกาะเราะฮฺ ที่236)
'ประการที่แปด' ว่า ฎอฆู้ดนั้นเป็นสิ่งที่คลุมไปทั่วถึงทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ถูกเคารพภักดี
นอกเหนือจากอัลลอฮฺ
'ประการที่เก้า' ความยิ่งใหญ่ของสามโองการที่มีความหมายรัดกุม ในซูเราะฮฺ อัลอะฮฺร้อฟ
ตามทัศนะของ
บรรดาผู้คนรุ่นก่อน(สะลัฟ) และสามโองการดังกล่าวนั้น มีปัญหาต่างๆอยู่สิบปัญหาด้วยกัน
ปัญหาแรกคือ การห้ามไม่ให้ตั้งภาคี
'ประการที่สิบ' โองการต่างๆในซูเราะฮฺอัลอิสร้ออฺนั้น ซึ่งก็มีอยู่สิบแปดปัญหาด้วยกัน
อัลลอฮฺได้ทรงเริ่มต้น
ด้วยคำตรัสของพระองค์ที่ว่า
' ' และเจ้าอย่าทำให้มีขึ้นกับอัลลอฮฺซึ่งพระเจ้าองค์อื่น แล้วเจ้าจะนั่งอย่างผู้ถูกตำหนิ
ผู้ถูกทอดทิ้ง(อัลอิสร็ออฺ ที่22) และพระองค์ได้ทรงลงท้ายด้วยคำตรัสของพระองค์ที่ว่า
' ' และเจ้าอย่าได้ทำให้มีขึ้นกับอัลลอฮฺ ซึ่งพระเจ้าองค์อื่น แล้วเจ้าก็จะถูกโยนลงไป
ในนรกอย่างผู้ถูกตำหนิผู้ถูกขับไล่ ' ' (อัลอิสร้ออฺ ที่39) และพระองค์ทรงกระตุ้นเตือนเรา
ให้ได้ทราบในเรื่องความยิ่งใหญ่ของปัญหา
ต่างๆเหล่านี้ ด้วยคำตรัสของพระองค์ที่ว่า ' ' ที่ได้กล่าวมานี้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่
พระผู้เป็นเจ้าของเจ้าได้ทรง
ดลใจมายังเจ้า จากความรอบรู้ ' '(อัลอิสร้อฮฺ ที่39)
'ประการที่สิบเอ็ด' โองการของซูเราะฮฺ อันนิซาอฺ ที่ถูกเรียกว่า โองการสิทธิหน้าที่ต่างๆ
สิบประการที่อัลลอฮฺได้ทรงเริ่มต้น ด้วยคำตรัสของพระองค์ที่ว่า
' ' และพวกเจ้าจงเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ และอย่าได้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺแต่อย่างใดด้วย
' ' (อันนิซาอฺ ที่36)
'ประการที่สิบสอง' การกระตุ้นเตือนให้รู้ ในคำสั่งเสียของร่อซูลุลลอฮฺ
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมในขณะที่ท่านกำลังจะจากโลกนี้ไป
'ประการที่สิบสาม' การรู้จักสิทธิของอัลลอฮฺที่มีต่อเรา
'ประการที่สิบสี่' การรู้จักสิทธิของบรรดาบ่าวที่มีต่ออัลลอฮฺ เมื่อเขาได้ปฎิบัติตาม
สิทธิของพระองค์
'ประการที่สิบห้า' ว่า ปัญหานี้สาวกส่วนมากไม่รู้
'ประการที่สิบหก' การอนุญาตให้ปกปิดความรู้ เพื่อผลประโยชน์
'ประการที่สิบเจ็ด' การชอบให้บอกข่าวแก่มุสลิม ด้วยสิ่งที่จะนำมาให้แก่เขาซึ่ง
ความปลาบปลื้ม
'ประการที่สิบแปด' ความกลัวในเรื่องของการหันไปอาศัยความกว้างไพศาลของความเมตตา
ของอัลลอฮฺเพียงอย่างเดียว
'ประการที่สิบเก้า' การพูดของผู้ที่ถูกถาม เกี่ยวกับสิ่งที่เขาไม่รู้ว่า อัลลอฮุ ว่ะร่อซูลุฮูอะอฺลัม
(อัลลอฮฺ และร่อซูลของพระองค์รู้ดีที่สุด)
'ประการที่ยี่สิบเอ็ด' การถ่อมเนื้อถ่อมตัวของท่าน ร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
ในการขี่ลากับการให้ผู้อื่นซ้อนท้าย บนหลังลา
'ประการที่ยี่สิบสอง' การอนุญาตให้ซ้อนท้าย บนสัตว์พาหนะ
'ประการที่ยี่สิบสาม' ความประเสริฐของ มุอ้าซ อิบนุ ญะบัลลฺ
'ประการที่ยี่สิบสี่' ความยิ่งใหญ่ของเรื่องราวของปัญหานี้
|
|
preecha
p.r.ma@hotmail.com [171.96.35.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ท่านคือผู้ที่อัลลอฮฺทรงคัดเลือก
|